ข้อความต้นฉบับในหน้า
2. ใกล้เกินไป
3. เหนือลม
4. สูงไป
5. ตรงหน้าเกินไป
6. หลังเกินไป
สำหรับเหตุผลที่ไม่ให้นั่งอย่างนั้น ก็เช่นเดียวกันกับการยืน ส่วนการนั่งที่ดี จึงควรนั่งข้างหน้าเยื้อง
ซ้ายหรือขวาเล็กน้อย และมีระยะที่เหมาะสม
5. “นิ่ง” ประการสุดท้าย พระองค์ตรัสว่า “พึงนิ่งอย่างนี้” การนิ่งมีทั้งนิ่งเพราะรู้ และนิ่งเพราะ
ไม่รู้ การนิ่งเพราะรู้ อาจเป็นเพราะบางครั้งไม่อยู่ในสถานการณ์หรือกาลเทศะที่ควรพูด ก็ควรนิ่งไว้โดยเฉพาะ
หากทราบว่าพูดไปก็ไม่เกิดประโยชน์อะไรขึ้นมา ซึ่งการนิ่งในลักษณะนี้จะเป็นการนิ่งที่สง่าและงดงาม แตก
ต่างจากการนิ่งเพราะไม่รู้ เช่นถูกถามคำถาม แต่ไม่ทราบว่าคำตอบคืออะไรก็เลยต้องนิ่งด้วยอาการของคนไม่รู้
การนิ่งที่สง่างามจะเป็นอาการที่น่าเลื่อมใสเหมือนกับพระภิกษุทั้งหลายที่พระพุทธองค์ตรัสแนะนำไว้
ว่า หากมาประชุมพร้อมกัน ก็ควรทำกิจเพียง 2 ประการ คือ
1. กล่าวธรรมีกถา หรือ 2. เป็นผู้นิ่งอย่างพระอริยะ
ซึ่งหมายความว่า หากต้องพูด ให้พูดแต่เรื่องธรรมะ ถ้าไม่อย่างนั้น ก็ให้นิ่งเหมือนกับอาการของ
พระอริยเจ้าไปเสียเลย
กิริยาอาการตั้งแต่การเข้าไปหาจนถึงการอยู่นิ่ง ล้วนเป็นสิ่งสำคัญที่พระภิกษุจะต้องศึกษาให้เข้าใจ
เพราะมีความจำเป็นที่พระภิกษุจะต้องนำไปใช้ เพื่อเผยแผ่พระศาสนาให้กว้างไกลเป็นที่พึ่งแก่มหาชน
8.7 บทสรุปของการเป็นปริสัญญ
จากรายละเอียดที่ได้ศึกษามา พอจะสรุปในเบื้องต้นได้ว่า พระภิกษุผู้จะเป็นปริสัญญได้ จะต้อง
1. รู้และเข้าใจธรรมเนียมปฏิบัติของกลุ่มบุคคลสำคัญในสังคม 4 กลุ่ม คือ กษัตริย์ (นักปกครอง)
พราหมณ์ (นักวิชาการ) คฤหบดี (นักธุรกิจ และผู้ประกอบอาชีพอื่นที่เลี้ยงดูตนเองได้) และนักบวช
2. สามารถวางตัวได้ถูกต้องเหมาะสม ทั้งการเข้าหา การยืน การกระทำ การนั่ง การนิ่ง
ราชสูตร, อรรถกถา ขุททกนิกาย อุทาน, มก. เล่ม 44 หน้า 173
184 DOU แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา