ข้อความต้นฉบับในหน้า
10.2.1 ธัมมัญญูกับการสำรวมในพระปาฏิโมกข์
เบื้องต้นของการฝึกฝนในเรื่องใดก็ตามยากที่จะสำเร็จได้หากไม่ขวนขวายใส่ใจหาความรู้ในเรื่องนั้น
เช่น ปรารถนาที่จะเป็นคหบดี เป็นพ่อค้าผู้ร่ำรวย แต่ไม่มีความรู้ทางการค้าไม่รู้จักสินค้าที่จะขายไม่รู้เรื่องการ
ตลาด ย่อมยากที่จะประสบความสำเร็จสมความปรารถนาได้ เช่นเดียวกัน การที่พระภิกษุจะสามารถปฏิบัติตัว
ด้วยการสำรวมระวังในพระปาฏิโมกข์ได้นั้น ก็ย่อมต้องขวนขวาย ทุ่มเทศึกษาในเรื่องเกี่ยวกับการสำรวมระวัง
ในพระปาฏิโมกข์ให้ได้ทั้งหมด เหตุที่ต้องทำอย่างนั้น ก็เพื่อจะได้เห็นภาพรวมสำคัญๆ ของการสำรวมในพระ
ปาฏิโมกข์ที่พระพุทธองค์ตรัสสอนไว้ เพราะหากยังไม่ได้ศึกษา ก็คงไม่มีทางทราบได้ว่าตนเองจะต้องปฏิบัติ
อะไร หรืออย่างไร ตามที่พระองค์ทรงสอนไว้อย่างถูกต้องสมบูรณ์
ดังนั้นในเบื้องต้นจึงต้องทราบว่า “พระปาฏิโมกข์” หมายถึงปาฏิโมกขสังวรศีล ซึ่งก็คือ ศีลของ
พระภิกษุ 227 ข้อ รวมทั้งวินัยและข้อปลีกย่อยที่เป็นรายละเอียดอื่นๆ อีกมากมาย” เหมือนที่พระมงคลเทพมุนี
(สด จนฺทสโร) ได้แสดงพระธรรมเทศนาไว้ว่า
“ศีลของภิกษุนะ เป็น อปริยันตปาริสุทธิศีล (คือ) ไม่มีที่สุด ศีลของภิกษุ
ไม่มีที่สุด ศีลของภิกษุ 227 สิกขาบทมาในพระปาฏิโมกข์ ในวิสุทธิมรรค 3
ล้าน 100 กว่าสิกขาบท มาในพระไตรปิฎก ที่เรียกว่าวินัยปิฎกนี้ 21,000
กัณฑ์ เป็นสิกขาบทหลายข้อ
ถ้าจะนับสิกขาบทภิกษุ ศีลไม่มีที่สุด ศีลไม่มีที่สุดทีเดียว เรียกว่า อปริยันต
ปาริสุทธิศีลขึ้นสู่พระปาฏิโมกข์นิดเดียว 227 สิกขาบทข้อสำคัญๆ ทั้งนั้น ที่
ข้อลดหย่อนกว่านั้น ยังอยู่อีกมากมาย ไม่มีที่สุด...”
ความรู้ศีลเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อ พระภิกษุนั้นฝึกฝนตนจนกลายเป็นธัมมัญญู หมายถึง
ได้ศึกษาธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาทั้งหมด กล่าวให้ง่าย คือได้อ่านพระไตรปิฎกจนจบครบทุกเล่ม
จนสามารถสรุปภาพรวมคำสอนสำคัญๆ ได้ เพราะความรู้นี้จะเป็นพื้นฐานให้เกิดความเข้าใจในระดับที่สามารถ
นำไปปฏิบัติให้เกิดผลได้ในอนาคต
พระธรรมเทศนาพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร), เรื่อง “ภัตตานุโมทนากถา”, 18 พฤศจิกายน 2497
222 DOU แม่บท การฝึกอบรม ในพระพุทธศาสนา