เรื่องราวของพระองคุลิมาลและพระสัมมาสัมพุทธเจ้า SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา หน้า 86
หน้าที่ 86 / 252

สรุปเนื้อหา

เรื่องราวนี้เล่าว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงโปรดโจรองคุลิมาล ซึ่งเป็นโจรที่ฆ่าคนจำนวนมาก โดยมีการสนทนาที่สำคัญเกี่ยวกับคำว่า "หยุด" ซึ่งมีความหมายแตกต่างกันระหว่างองคุลิมาลและพระองค์ องคุลิมาลเกิดการสำนึกและเลือกที่จะบวชจนนำไปสู่การบรรลุเป็นพระอรหันต์ ในตอนท้ายสะท้อนถึงความหมายที่แท้จริงของการหยุดในทางธรรมและการหยุดใจ

หัวข้อประเด็น

-การพบกันขององคุลิมาลและพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
-ความหมายของการหยุด
-การเปลี่ยนแปลงขององคุลิมาล
-การบรรลุธรรมขององคุลิมาล
-การสอนธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เมื่อครั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นมีโจรคนหนึ่งชื่อ องคุลิมาล ทำการฆ่าคนเป็นจำนวนมาก แล้วเอานิ้วมือของคน ที่ฆ่าได้มาร้อยเป็นพวงมาลัยคล้องคอ ครั้งหนึ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะทรงโปรดโจรองคุลิมาล ด้วยเห็นว่าพอมีอุปนิสัยที่จะบรรลุธรรม ได้ จึงเสด็จดำเนินไปในที่ที่โจรองคุลิมาลซุ่มอยู่ เมื่อโจรเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็คิดจะฆ่า จึงถือดาบวิ่งไล่ ตามพระองค์ไป แต่เพราะทรงใช้ฤทธิ์บันดาล ทำให้องคุลิมาลวิ่งตามเท่าไรก็ตามไม่ทัน ทั้งๆ ที่พระองค์ก็เสด็จ ไปอย่างปกติ องคุลิมาลเกิดความสงสัย จึงหยุดวิ่งไล่แล้วถามพระองค์ไปว่า “จงหยุดก่อนสมณะ จงหยุดก่อนสมณะ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสว่า “เราหยุดแล้ว องคุลิมาล ท่านเล่า จงหยุดเถิด” คำตอบของพระองค์ยิ่งทำให้องคุลิมาลสงสัย เพราะทราบดีว่าผู้เป็นสมณะจะพูดแต่ความจริง แต่ ทำไมสมณะนี้ขณะที่ตัวเองเดินไป ถึงบอกว่าได้หยุดแล้ว ตรงข้ามกับเราที่หยุดวิ่งไล่แล้ว สมณะกลับบอกว่า เรายังไม่หยุด องคุลิมาลจึงถามกลับไปว่า พระองค์หมายความว่าอย่างไรกัน พระพุทธองค์ตรัสว่า ที่ทรงตอบว่าพระองค์หยุดแล้วนั้น เป็นเพราะพระองค์เป็นผู้หยุดจากการ เบียดเบียนและฆ่าสัตว์ ในขณะที่องคุลิมาลนั้น ยังคอยเที่ยวไล่ฆ่าฟันผู้คน องคุลิมาลเมื่อฟังแล้วเกิดสำนึกได้ จึงทิ้งอาวุธแล้วทูลขอบวชกับพระพุทธองค์ ต่อมาไม่นาน ท่าน ก็เร่งทำความเพียร จนสามารถกำจัดกิเลสในใจ บรรลุเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในพระศาสนา จะเห็นว่าคำว่า “หยุด” ที่ท่านองคุลิมาลเข้าใจ กับคำว่า “หยุด” ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสตอบ ไปเป็นคนละความหมายกัน “หยุด” ของท่านองคุลิมาลตอนวิ่งไล่นั้น หมายถึงการหยุดเคลื่อนไหวร่างกาย ไม่วิ่ง ไม่เดิน แต่ “หยุด” คำเดียวกัน พระสัมมาสัมพุทธเจ้ากลับใช้ไปในความหมายว่าหยุดทำความชั่ว ทั้ง ทางกาย วาจา ใจ และภายหลังจากที่องคุลิมาลบวชแล้ว ท่านก็ได้พบกับความหมายของคำว่าหยุดที่แท้จริง ที่พระพุทธองค์หมายถึง นั่นคือการหยุดใจ จนท่านบรรลุเป็นพระอรหันต์ได้ในที่สุด ดังพระธรรมเทศนาของ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ที่กล่าวถึงคำว่าหยุดในทางปฏิบัติ ว่า “กระแสพระโอษฐ์ของพระบรมศาสดา ได้ทรงประทานให้นัยแก่พระ องคุลิมาล จนองคุลิมาลละพยศ หมดพยศ แล้วยอมจำนนแก่พระศาสดา แล้วเปล่งวาจาว่า "สมณะหยุดๆ" พระองค์ทรงเหลียวพระพักตร์มาแล้วตรัส ว่า "สมณะหยุดแล้ว แต่ท่านไม่หยุด" นั่น หยุดอันนั้นเป็นกระแสพระดำรัสของ อังคุลิมาลสูตร, มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์, มก. เล่ม 21 ข้อ 521 หน้า 141 พระธรรมเทศน์พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร), เรื่อง “มงคลกถา”, 20 กันยายน 2496, หน้า 90 บทที่ 4 ขั้ น ต อ น ที่ 2 อัตถั ญ ญ DOU 75
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More