ข้อความต้นฉบับในหน้า
บุคคล 4 กลุ่มดังกล่าว เปรียบแล้วก็เหมือนกับดาบ 2 คม ถ้าเห็นดีด้วย ก็จะเป็นผลดีกับพระศาสนา
แต่ถ้าไม่เห็นดีด้วย ก็อาจขัดขวางให้การเผยแผ่ทำได้ช้าลง ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่า ทั้ง 4 กลุ่มต่างมีขุมกำลัง
ที่แตกต่างกันไป
กลุ่มกษัตริย์ หรือนักปกครอง จะมีขุมกำลังคืออำนาจการปกครองบริหาร
กลุ่มพราหมณ์ หรือนักวิชาการ จะมีขุมกำลังคือความรู้
กลุ่มคฤหบดี หรือผู้มีอาชีพมั่นคง จะมีขุมกำลังคืออำนาจการเงิน
กลุ่มสมณะ หรือนักบวช จะมีขุมกำลังคือความเห็นที่มีอำนาจยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้คน
และเพราะบุคคลเหล่านั้นมีจริตอัธยาศัย ขนบธรรมเนียมประเพณีของแต่ละกลุ่มแตกต่างกันไป
พระภิกษุที่จะเข้าไปเป็นกัลยาณมิตรให้ จึงต้องวางตัวให้เหมาะสมกับทุกกลุ่มคน
กลุ่มกษัตริย์
กลุ่มกษัตริย์ถือว่าเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลมาก โดยเฉพาะในสมัยพุทธกาล เพราะกษัตริย์จะเป็นใหญ่
มีอำนาจ และเป็นที่เคารพนับถือของประชาชน ดังนั้นหากทำให้กลุ่มนี้เห็นดีด้วยได้การเผยแผ่พระพุทธศาสนา
ก็จะทําได้ง่ายเช่นกัน ดังเช่นเรื่องราวของพระเจ้าพิมพิสาร
เมื่อครั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมพระภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ จำนวน 1,000 รูป ประทับอยู่ใต้ต้นไทร
ชื่อสุประดิษฐ์เจดีย์ ในสวนตาลหนุ่ม เขตพระนครราชคฤห์ พระเจ้าพิมพิสารทรงได้ยินกิตติศัพท์อันงามของ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงเสด็จเข้าไปเฝ้าพร้อมด้วยพราหมณ์คหบดีชาวมคธ 120,000 คน
ครั้งนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนา เมื่อจบลงพระเจ้าพิมพิสาร พร้อมเหล่า
พราหมณ์คหบดีชาวมคธ 110,000 คน ได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน ส่วนอีก 10,000 คนได้เข้าถึงพระ
รัตนตรัย คือ ขอถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง จากเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้พระเจ้าพิมพิสารปีติ
พระทัยเป็นอย่างมาก ได้นิมนต์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์รับภัตตาหารในวันรุ่งขึ้น และ
ได้ถวายสวนเวฬุวัน ซึ่งกลายเป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา
ผลจากการที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศน์โปรดพระเจ้าพิมพิสารในครั้งนี้ ทำให้สามารถเผยแผ่
ธรรมะไปได้อย่างกว้างขวางและรวดเร็ว กล่าวคือ ได้ผู้เลื่อมใสจำนวนมากถึง 120,000 คน พร้อมทั้งกษัตริย์
แห่งแคว้นมคธ ซึ่งเป็นราชอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ เป็นหนึ่งในแคว้นมหาอำนาจในสมัยพุทธกาล มีความสำคัญทั้ง
ทางด้านการเมือง การศาสนาการเศรษฐกิจ และการทหาร การเทศนาของพระองค์ครั้งแรกจึงเป็นการเริ่มต้น
เผยแผ่พระพุทธศาสนาได้อย่างยอดเยี่ยม
เรียบเรียงจาก มหาขันธกะ, พระวินัยปิฎก มหาวรรค, มก. เล่ม 6 ข้อ 56 หน้า 110
บท ที่ 8 ขั้ น ต อ น ที่ 6 ปริสัญญู DOU 171