ข้อความต้นฉบับในหน้า
จีวร (เครื่องนุ่งห่ม)
ในคราวหนึ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเห็นพระภิกษุมีผ้ามากเกินไป พระองค์จึงทรงดำริว่า พระ
ภิกษุควรมีผ้าจำนวนเท่าไร จึงจะดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยความสะดวกสบายพอสมควร เมื่อดำริอย่างนั้นพระองค์
จึงทรงทดลองด้วยตัวพระองค์เอง
โดยทรงครองผ้าผืนเดียวนั่งกลางแจ้งในตอนกลางคืนของช่วงฤดูหนาว
ขณะที่น้ำค้างตก ปรากฏว่าด้วยผ้าผืนเดียวนั้นเพียงพอจะทำให้พระองค์ไม่รู้สึกหนาว
แต่เมื่อปฐมยามผ่านไป (หลัง 22.00 นาฬิกา) ก็ทรงเริ่มหนาว พระองค์จึงห่มจีวรผืนที่ 2 ความ
หนาวก็หายไป
และเมื่อมัชฌิมยามผ่านไป (หลัง 02.00 นาฬิกา) ก็ทรงเริ่มหนาว พระองค์จึงห่มจีวรผืนที่ 3 ความ
หนาวก็หายไป
และเมื่อปัจฉิมยามผ่านไป (เวลารุ่งอรุณ หลัง 06.00 นาฬิกา) ก็ทรงเริ่มหนาว พระองค์จึงห่มจีวร
ผืนที่ 4 ความหนาวก็หายไป
เมื่อทรงทดลองตลอดทั้งคืนอย่างนี้แล้ว จึงทรงตรัสกับพระภิกษุว่า
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้ดำริว่า กุลบุตรในธรรมวินัยนี้ ที่เป็นคน
ขี้หนาว กลัวต่อความหนาว ก็อาจดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยผ้าสามผืน ไฉนหนอ
เราจะพึงกั้นเขต ตั้งกฎในเรื่องผ้าแก่ภิกษุทั้งหลาย เราจะพึงอนุญาตไตรจีวร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไตรจีวร" คือ ผ้าสังฆาฏิ 2 ชั้น ผ้าอุตรา
สงค์ชั้นเดียว ผ้าอันตรวาสกชั้นเดียว”
จึงเป็นอันว่าสำหรับพระภิกษุผ้านุ่งผ้าห่มหรือจีวรที่พอแก่ความต้องการควรมีอย่างน้อยที่สุดจำนวน
3 ผืน แต่อย่างไรก็ตาม พระองค์ยังทรงอนุญาตให้พระภิกษุสามารถรับจีวรไว้ได้มากกว่านั้น หากมีความจำเป็น
ซึ่งวินิจฉัยในข้อนี้เป็นสิ่งที่พระภิกษุต้องพิจารณาด้วยตนเอง
สังฆาฏิ คือ ผ้าทาบ หรือผ้าคลุมกันหนาวที่พระใช้ทาบบนจีวร ผ้าอุตราสงค์ คือ ผ้าห่ม เรียกกันทั่วไปว่าจีวร ผ้าอันตร
วาสก คือ ผ้านุ่ง หรือ สบง
"จีวรขันธกะ, พระวินัยปิฎก มหาวรรค, มก. เล่ม 7 ข้อ 150 หน้า 278
บทที่ 6 ขั้ น ต อ น ที่ 4 มัตตัญญู DOU 121