พระอริฏฐะ ผู้มีความเห็นผิด SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา หน้า 89
หน้าที่ 89 / 252

สรุปเนื้อหา

เรื่องของพระอริฏฐะที่มีความเห็นผิดเกี่ยวกับความเป็นอันตรายของกามตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัส ซึ่งนำไปสู่การละทิ้งเพศพระภิกษุและการสร้างบาปอกุศล ความเข้าใจผิดนี้มีผลกระทบทั้งต่อคุณธรรมของตนเองและความเลื่อมใสของคนอื่น การตักเตือนจากพระภิกษุไม่สามารถเปลี่ยนใจพระอริฏฐะได้ จึงแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการเรียนรู้และสอบถามจากครูบาอาจารย์ที่มีความรู้ในการป้องกันความเข้าใจผิด

หัวข้อประเด็น

-มิจฉาทิฏฐิ
-ผลกระทบต่อความเชื่อ
-การสร้างบาป
-ความสำคัญของการศึกษา
-การเป็นกัลยาณมิตร

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เรื่องพระอริฏฐะ ผู้มีความเห็นผิด เมื่อครั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระ นครสาวัตถี พระอริฏฐะเกิดมีความเห็นผิดเป็นมิจฉาทิฏฐิว่า ตนเองรู้ทั่วถึงธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยเห็นว่าธรรมใดที่พระองค์ตรัสไว้ว่าเป็นอันตราย ธรรมนั้นไม่ได้เป็นอันตรายจริง ทั้งนี้เพราะพระอริฏฐะ ได้เห็นฆราวาสที่เป็นพระอริยบุคคล เช่น เป็นพระโสดาบันก็มี พระสกทาคามีก็มี พระอนาคามีก็มี ฆราวาส เหล่านี้ก็ยังบริโภคกามคุณ 5 อยู่เลย แม้พระภิกษุก็เช่นกัน ยังคงดูรูปสวยๆ ฟังเสียงเพราะๆ ดมกลิ่นหอมๆ ลิ้มรสชาติอาหารอันเอร็ดอร่อย ถูกต้องสัมผัสที่น่าชอบใจ มีเครื่องปูลาดอาสนะ หรือแม้แต่เครื่องนุ่งห่มที่ มีสัมผัสอ่อนนุ่ม คล้ายกับฆราวาสเหมือนกัน ดังนั้นทำไมสัมผัสของสตรีที่อ่อนนุ่มเช่นกันถึงไม่ควรถูกต้องเล่า เมื่อพระอริฏฐะเทียบเคียงตามความเข้าใจของตัวอย่างนี้แล้ว ก็เกิดความเห็นผิดว่า โทษของกาม ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ย่อมไม่มีแน่นอน เมื่อความเรื่องนี้รู้ถึงพระภิกษุทั้งหลาย ท่านจึงเข้ามา ตักเตือนและให้พระอริฏฐะเลิกความคิดชั่วช้านั้นเสีย แต่ท่านไม่เชื่อฟังไม่ว่าพระภิกษุจะห้ามปรามกันอย่างไร เมื่อความทราบถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์จึงเรียกพระอริฏฐะให้เข้าเฝ้า แล้วทรงตรัสตำหนิว่า “เธอชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยทิฏฐิที่ตนยึดถือไว้ผิด ชื่อว่าทำลายตนเอง และชื่อว่าประสบบาปมิใช่บุญ เป็นอย่างมาก เพราะข้อนั้นแหละ จักเป็นไปเพื่อผลไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อผลเป็นทุกข์แก่เธอ ตลอดกาลนาน การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความ เลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว....” ภายหลังไม่นานเท่าไร พระอริฏฐะจึงลาสิกขาออกไปเป็นฆราวาสจึงทำให้หมดโอกาสที่จะสร้างความ ดีในเพศของพระภิกษุนี้ไปอย่างน่าเสียดาย จากเรื่องข้างต้นย่อมแสดงให้เห็นว่า ความเข้าใจผิด มีผลต่อคุณธรรมที่จะเกิดขึ้น ทำให้เกิดบาป อกุศลแก่ตนเอง และยังมีผลต่อความเลื่อมใสศรัทธาของผู้ที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งๆ ขึ้นไป ของผู้ที่เลื่อมใสแล้ว นี้จึงเป็นตัวอย่างของผลที่จะเกิดขึ้นเมื่อความเข้าใจความหมายหรือนัยผิด ซึ่งมีผล ทั้งต่อคุณธรรมของตนเอง และมีผลต่อหมู่คณะหรือพระพุทธศาสนา 4.4.4 ทำอย่างไรจึงจะไม่เข้าใจผิด วิธีการที่จะไม่ให้เข้าใจผิด ก็คือ การหมั่นเข้าไปสอบถามกับครูบาอาจารย์ที่ท่านผ่านการฝึกฝนอบรม ตนเองมาก่อน จนเป็นผู้มีคุณธรรมความดี และมีความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมทั้งหลายอย่างแท้จริง พระ ภิกษุจึงควรอาศัยท่านเป็นกัลยาณมิตรให้ เพื่อคอยชี้แนะแก้ไขความเข้าใจให้ถูกต้องตามธรรม 78 DOU แม่บท การฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More