ข้อความต้นฉบับในหน้า
2.2 พระสูตรที่ต้องศึกษา
ในวันที่บรรพชาอุปสมบท พระภิกษุจะกล่าวคำขอบวชกับพระอุปัชฌาย์ เพื่อยืนยันว่าตนเอง
ออกบวชมาเพราะความเลื่อมใสศรัทธาอย่างแท้จริง และการละทิ้งจากชีวิตฆราวาสในครั้งนี้ ก็เพราะมี
พระนิพพานเป็นเป้าหมาย สมกับคำประกาศที่ตนกล่าวเอาไว้ว่า
“สพฺพทุกฺขนิสสรณนิพพานสจฺฉิกรณตฺถาย
อิม กาสาว คเหตุวา ปพฺพเชถ นํ ภนฺเต
ข้าแต่พระอุปัชฌาย์ผู้เจริญ ขอท่านจงรับผ้ากาสาวะ
แล้วบวชให้ข้าพเจ้าด้วยเถิด เพื่อข้าพเจ้าจะได้ประพฤติปฏิบัติ
กำจัดทุกข์ทั้งปวงให้สิ้นไป และกระทำพระนิพพานให้แจ้ง”
เมื่อเป้าหมายอยู่ที่การทำพระนิพพานให้แจ้งชัดเจนอย่างนั้น พระภิกษุจึงต้องมุ่งมั่นฝึกฝนอบรม
ตนเองให้ยิ่งๆ ขึ้นไป ซึ่งได้กล่าวไว้ในบทที่ผ่านมาว่า การศึกษาในพระพุทธศาสนานั้น จะมีลักษณะเป็นไป
ตามลำดับ ปฏิบัติไปตามลำดับ ไม่สามารถจะลัดขั้นตอนได้ และพระสูตรหรือคำสอนแม่บทที่ดีสามารถนำ
มาใช้ เพื่อศึกษาและฝึกปฏิบัติได้ไม่ยากจนเกินไป ก็คือพระสูตรที่ชื่อว่า “คุณกโมคคัลลานสูตร” และ
“ธัมมัญญูสูตร” นั่นเอง
คุณกโมคคัลลานสูตร เป็นพระสูตรที่กล่าวถึง “ขั้นตอนการฝึก” เพื่อบรรลุมรรคผลนิพพาน ส่วน
ธัมมัญญสูตร เป็นพระสูตรที่กล่าวถึง “วิธีการฝึก” ซึ่งพระภิกษุพึงศึกษาให้เข้าใจ เพื่อจะได้นำไปฝึกฝน
อบรมตนเองให้ได้อย่างถูกต้อง โดยในบทนี้จะอธิบายรายละเอียดในแต่ละ “ขั้นตอนการฝึก” ให้ชัดเจน ทั้งนี้
เนื่องจากว่า พระภิกษุทุกรูปจะต้องฝึกผ่านไปให้ได้ ส่วนวิธีฝึกให้บรรลุเป้าหมายในแต่ละขั้นตอน จะได้กล่าวถึง
ในลำดับต่อไป
2.3 คณกโมคคัลลานสูตร
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสตอบคำถามที่คุณกโมคคัลลานพราหมณ์ถามว่า พระองค์สามารถบอก
กฎเกณฑ์ในการศึกษาพระพุทธศาสนา ให้เห็นเป็นลำดับขั้นตอนชัดเจน เช่นเดียวกับการศึกษาในวิชาอื่นๆ บ้าง
ได้หรือไม่ พระองค์ตอบกลับว่า “ได้” แล้วตรัสต่อไปว่า เมื่อพระองค์ได้บุคคลที่ควรฝึกมาแล้ว จะทรงแนะนำให้
เขาฝึกฝนไปตามขั้นตอนต่างๆ 6 ขั้น ตามลำดับ ดังนี้
เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างชัดเจน นักศึกษาควรอ่านพระสูตรจากภาคผนวกท้ายเล่มให้จบก่อน
บทที่ 2 คณกโมคคัลลานสูตร DOU 25