ข้อความต้นฉบับในหน้า
ละอภิชฌาเพ่งเล็งในโลกแล้ว มีใจปราศจากอภิชฌาอยู่ ย่อมชำระจิต
ให้บริสุทธิ์จากอภิชฌาได้
ละโทษคือพยาบาทปองร้ายแล้ว เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท อนุเคราะห์ด้วย
ความเกื้อกูลในสรรพสัตว์และภูตอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความชั่วคือ
พยาบาทได้
ละถีนมิทธะง่วงเหงาหาวนอนแล้ว เป็นผู้มีจิตปราศจากถีนมิทธะ มี
อาโลกสัญญาสำคัญว่าสว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์
จากถีนมิทธะได้
ละอุทธัจจกุกกุจจะความฟุ้งซ่านและรำคาญแล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิต
สงบภายในอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะได้
ละวิจิกิจฉาความสงสัยแล้วเป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉา ไม่มีปัญหาอะไรใน
กุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉาได้”
2.4.7 นิวรณ์ 5
นิวรณ์ คือ กิเลสที่ปิดกั้นใจไม่ให้บรรลุความดี ไม่ให้ก้าวหน้าในการเจริญภาวนา ทำให้ใจซัดส่าย
ไม่ยอมหยุดนิ่งเป็นสมาธิ มี 5 ประการ ได้แก่
1. กามฉันทะ คือ ความหมกมุ่น ครุ่นคิด เพ่งเล็งถึงความน่ารักน่าใคร่ในกามคุณ อันได้แก่ รูป รส
กลิ่น เสียง สัมผัส หากใจยังติดในรสของกามคุณ ก็ย่อมไม่สามารถทำใจให้หยุดได้
2. พยาบาท คือ ความคิดร้าย ความรู้สึกไม่ชอบใจสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ได้แก่ ความอุ่นใจ ความ
ขัดเคืองใจ ความไม่พอใจ ความโกรธ เป็นต้น เหล่านี้ล้วนทำให้ใจซัดส่าย ไม่เป็นสมาธิ
3. ถีนมิทธะ คือ ความหดหู่ ความง่วงเหงา ซึมเซา ขาดกำลังใจและความหวังในชีวิต ขาดวิริย
อุตสาหะในการทำสิ่งต่างๆ ได้แต่ปล่อยใจให้เลื่อนลอยไปเรื่อยๆ จึงไม่สามารถรวมใจให้เป็นหนึ่งได้
4. อุทธัจจกุกกุจจะ คือ ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ อันเกิดจากการปล่อยใจให้หลุดไปนอกตัว เกิด
ความคิดปรุงแต่งเรื่อยไป ทำให้ใจซัดส่ายไม่อยู่นิ่ง ไม่เป็นสมาธิ
5. วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัย ไม่แน่ใจ จึงเกิดคำถามขึ้นในใจตลอดเวลา เช่น สงสัยใน
พระรัตนตรัย ก็ย่อมไม่สามารถทำใจให้หยุดนิ่งได้
เพราะ (1) “กามฉันทะ” อยากได้ในกามคุณทั้งหลายตามที่ตนปรารถนา เมื่อไม่ได้สิ่งนั้นมา ก็จะ
เกิดความขัดเคืองใจ ไม่พอใจ กลายเป็น (2) “ความพยาบาท” ตามมา หรือหากได้สิ่งนั้นมาครอบครอง ก็
บทที่ 2 คณกโมคคัลลานสูตร DOU 47