ความก้าวหน้าในชีวิตทางโลกและทางธรรม SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา หน้า 101
หน้าที่ 101 / 252

สรุปเนื้อหา

บทนี้อธิบายการประเมินตนเองในที่ทำงานและในด้านธรรม โดยยกตัวอย่างวิธีการประเมินความก้าวหน้าของพนักงานและภิกษุเพื่อมองเห็นข้อดีและจุดที่ต้องพัฒนา การก้าวหน้าในชีวิตเป็นผลจากการฝึกฝนและสั่งสมบุญกุศลอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการรู้จักตนเองและมีคุณธรรมในระดับที่เหมาะสม การพัฒนาและประเมินตนเองอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้ทุกคนเดินทางไปสู่จุดหมายที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ.

หัวข้อประเด็น

-การประเมินตนเอง
-คุณธรรมในชีวิต
-การพัฒนาในด้านธรรม
-การบรรลุพระนิพพาน
-ความก้าวหน้าในวิถีชีวิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ 5 ขั้นตอนที่ 3 อัตตัญญู ในวิถีชีวิตทางโลก เมื่อบริษัทรับพนักงานใหม่เข้ามา พนักงานจะต้องทดลองงานก่อนเป็นระยะเวลา 1 เดือนบ้าง 3 เดือนบ้าง หรือ 6 เดือนบ้าง เพื่อทางบริษัทจะได้ดูการทำงานของพนักงานนั้น พร้อมทั้ง ได้เห็นถึงความรู้ความสามารถ เพื่อจะตัดสินใจรับ หรือจะปรับเพิ่มเงินเดือนให้ บางคนอาจไม่ผ่านการ ทดลองงาน เนื่องมาจากสุขภาพที่ไม่แข็งแรง หรือคุณธรรมพื้นฐาน เช่น ความมีวินัย ความเคารพ และ ความอดทนที่มีไม่มากพอ หรือความรู้ความสามารถไม่เพียงพอ เป็นต้น สำหรับผู้ที่ผ่าน แม้ทางบริษัทจะรับเข้า เป็นพนักงานใหม่ แต่ก็จะต้องมีการประเมินประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานคนนั้นเป็นระยะๆ ซึ่งจะ มีผลกับการปรับขึ้นเงินเดือน โบนัส การเพิ่มสวัสดิการในการรักษาพยาบาล การประกันชีวิต การเลื่อนขั้น และเลื่อนตำแหน่งให้เหมาะสมกับศักยภาพของพนักงานคนนั้นต่อไป ในทางธรรมก็เช่นเดียวกันทุกคนทราบดีอยู่ว่า เป้าหมายสูงสุดของการบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธ ศาสนา ก็เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง แต่น่าแปลกใจว่า ทำไมบางท่านฝึกฝนอบรมตนเองให้ก้าวหน้าไปได้เร็ว ในขณะที่อีกหลายท่านไปได้ช้า ผู้ที่ก้าวหน้าเร็ว ก็เป็นผลมาจากการสั่งสมบุญกุศล มีการฝึกฝนตนเองมา อย่างดีข้ามภพข้ามชาติ รู้จักสังเกต มีการประเมินตนเองอย่างสม่ำเสมอ และพยายามแก้ไขในสิ่งที่ตน ยังบกพร่องอยู่จนสำเร็จ ส่วนผู้ที่ก้าวหน้าช้า อาจเป็นผลมาจากปัจจัยหลายๆ อย่าง เช่น สุขภาพที่ไม่ แข็งแรงหรือเพราะขาดความสังเกต จึงไม่ทราบว่าตนเองยังมีความบกพร่องในจุดใด เงื่อนไขของความก้าวหน้าเร็วหรือช้า แท้ที่จริงอยู่ตรงที่ว่า เราต้องรู้ให้ได้ว่าตนเองมีคุณธรรมอยู่ มากน้อยเท่าใด คงที่หรือก้าวหน้าไปแค่ไหน เมื่อทราบแล้วจะได้เร่งพัฒนา ปรับปรุง แก้ไข เพื่อคุณธรรม ภายในจะได้เพิ่มพูนตลอดเวลา และดำเนินก้าวหน้าไปสู่จุดหมายคือพระนิพพานได้อย่างถูกต้อง ตรงตามทาง และรวดเร็ว 5.1 อัตตัญญู คืออะไร เมื่อพระภิกษุฝึกฝนตนเองจนเป็นธัมมัญญู ผู้รู้จักธรรม เป็นอัตถัญญู ผู้รู้จักนัยหรือความหมายของ คำสอนแล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะทรงแนะนำให้ฝึกในขั้นตอนที่ 3 ต่อไป ดังที่พระองค์ตรัสไว้ว่า “ก็ภิกษุเป็นอัตตัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักตนว่า เราเป็น ผู้มีศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณเพียงเท่านี้ 90 DOU แม่บทการฝึกอบรม ในพระ ระ พุ ท ธ ศ า ส น า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More