ข้อความต้นฉบับในหน้า
ดังนั้น หากพระภิกษุละเลยต่อการอยู่ในเสนาสนะอันสงัด ก็ย่อมหมายถึง การปิดโอกาสในการ
ใช้เวลาเพื่อพิจารณาตนเอง หรือเพื่อทบทวนข้อวัตรปฏิบัติว่าบกพร่อง หรือสมบูรณ์แค่ไหน มีความก้าวหน้า
หรือถอยหลังไปอย่างไร ซึ่งส่งผลให้เป้าหมายของการบวช หรือการทำพระนิพพานให้แจ้งนั้นเป็นไปได้ยาก
หรืออาจไม่ถึงเป้าหมายที่ตั้งใจไว้
2.4 คณกโมคคัลลานสูตร ข้อปฏิบัติตามลำดับเพื่อใจหยุด
ข้อปฏิบัติทั้ง 6 ขั้นตอนที่ได้ศึกษาผ่านมา ล้วนมีแบบแผนและความละเอียดอ่อนลุ่มลึกไปตามลำดับ
จากง่ายไปสู่ยาก โดยมีจุดมุ่งหมายของการฝึกอยู่ที่การประคับประคองใจให้หยุดนิ่ง เป็นสมาธิ จนเกิดปัญญา
เป็นความรู้แจ้งเห็นแจ้งแทงตลอดตามความเป็นจริงในที่สุด
การฝึกตามขั้นตอนทั้ง 6 ช่วยทำให้ใจหยุด เป็นสมาธิ จนเกิดปัญญาได้อย่างไร เราสามารถ
อธิบายความเกี่ยวข้องของขั้นตอนทั้ง 6 ได้ ดังนี้
2.4.1 ขั้นตอนที่ 1 “สำรวมระวังในพระปาฏิโมกข์”
การสำรวมระวังในพระปาฏิโมกข์ คือการฝึกฝนตนเองให้รู้จัก “ควบคุมกายและวาจา” ไม่ให้ไปทำ
ความชั่วใดๆ ซึ่งเป็นการสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการเจริญสมาธิภาวนาต่อๆ ไป เพราะหากตนเองไม่มีศีล
ไว้รักษากายและวาจาให้เป็นปกติแล้ว ก็ยากที่จะรักษาใจให้เป็นปกติ จนหยุดนิ่ง เป็นสมาธิได้ เหมือนพระพุทธ
ดำรัสที่ตรัสไว้ใน หิริสูตร ว่า
“เมื่อไม่มีศีล สัมมาสมาธิของบุคคลผู้มีศีลวิบัติ ย่อมมีอุปนิสัยถูกกำจัด
เมื่อไม่มีสัมมาสมาธิ ยถาภูตญาณทัสสนะ” ของบุคคลผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติ
ย่อมมีอุปนิสัยถูกกำจัด....”
2.4.2 ขั้นตอนที่ 2 “คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย”
เมื่อควบคุมกายและวาจาให้เป็นปกติได้แล้ว ในขั้นตอนต่อไป พระภิกษุจึงจะเริ่มฝึกควบคุมใจให้อยู่
ภายในตัว ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ใน คุมพิยชาดก” ว่า “กามคุณนี้ชื่อว่าเป็นเหยื่อของสัตวโลก
หิริสูตร, อรรถกถา อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต, มก. เล่ม 37 ข้อ 62 หน้า 212
ยถาภูตญาณทัสสนะ คือ ความรู้ความเห็นตามเป็นจริง
คุมพิยชาดก, ขุททกนิกาย จตุกกนิบาตชาดก, มก. เล่ม 58 ข้อ 781 หน้า 820
สัตวโลก โลกคือหมู่สัตว์ที่ยังมีจิตซัดส่าย ในที่นี้หมายถึง ใจ
บทที่ 2 คณกโมคคัลลานสูตร DOU 43