การรักษาศีลตามหลักพระพุทธศาสนา SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา หน้า 109
หน้าที่ 109 / 252

สรุปเนื้อหา

เรื่องราวเกี่ยวกับภิกษุผู้มีศรัทธาที่บวชในพระพุทธศาสนา โดยมีพระอาจารย์แนะนำให้รักษาศีล 3 ประการ ได้แก่ กาย วาจา และใจ เมื่อปฏิบัติถูกวิธี ทำให้ภิกษุสามารถบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ได้ในเวลาอันสั้น การศึกษาธรรมะผ่านการฟังและการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญในการเสริมสร้างปัญญาและเข้าใจในหลักศีลธรรม.

หัวข้อประเด็น

-การบวชในพระพุทธศาสนา
-การรักษาศีล 3 ประการ
-การบรรลุธรรม
-ความสำคัญของการฟังและการศึกษา
-การเสริมสร้างปัญญา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

มีกุลบุตรคนหนึ่งเกิดศรัทธา บวชอุทิศชีวิตในพระพุทธศาสนา เมื่อบวชแล้ว พระอาจารย์และ อุปัชฌาย์ได้สอนเรื่องศีลที่เธอต้องรักษา โดยจำแนกศีลออกเป็นประเภทต่างๆ อย่างถี่ถ้วนให้ฟัง ภิกษุรูปนั้น รู้สึกว่าศีลเป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อน มีรายละเอียดมากมาย จึงคิดว่าตนเองคงไม่อาจทำตามได้ทั้งหมด เมื่อคิด อย่างนั้นก็เกิดความท้อใจ จึงไปกราบลาพระอาจารย์และพระอุปัชฌาย์เพื่อขอลาสิกขา พระอาจารย์และพระอุปัชฌาย์ได้ฟังดังนั้น จึงพาภิกษุรูปนี้ไปเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ หลังจากที่ พระองค์ทรงทราบถึงสาเหตุของการขอลาสิกขาแล้ว จึงตรัสกับภิกษุรูปนั้นว่า “ภิกษุ เธอจะต้องการศีลมากๆ ไปทำไมเล่า เธอสามารถจะรักษาศีลเพียง 3 ประเภทได้ไหม” ภิกษุนั้นทูลตอบว่า “ข้าพระองค์สามารถรักษาได้ พระเจ้าข้า” พระศาสดาจึงตรัสว่า “ถ้าเช่นนั้น ตั้งแต่บัดนี้ไป เธอจงรักษาทวารทั้ง 3 ไว้ คือ กายทวาร วจีทวาร มโนทวาร อย่ากระทำกรรมชั่วด้วยกาย อย่ากระทำกรรมชั่วด้วยวาจา อย่ากระทำกรรมชั่วด้วยใจ ไปเถิด อย่าสึกเลย จงรักษาศีล 3 ข้อ เหล่านี้เท่านั้นเถิด” ด้วยพระพุทธดำรัสเพียงเท่านี้ ภิกษุนั้นก็มีใจยินดี กราบทูลว่า “ดีละพระเจ้าข้า ข้าพระองค์จักรักษา ศีล 3 เหล่านี้ไว้” แล้วถวายบังคมพระศาสดา กลับออกไปพร้อมกับอาจารย์และพระอุปัชฌาย์ ศาสนา เมื่อเธอบำเพ็ญศีลทั้ง 3 เหล่านั้นอยู่เพียง 2-3 วัน ก็บรรลุธรรม เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในพระพุทธ แท้ที่จริงศีลทั้งหลายสรุปลงที่การรักษากาย วาจา ใจ ให้ใสสะอาดอยู่เสมอ แต่เนื่องจากว่า คน ส่วนใหญ่ไม่ได้มีปัญญาพอจะรู้ว่าตนเองควรรักษาศีลด้วยอาการอย่างไร การรู้แค่เพียงรักษากาย วาจา ใจ อาจจะไม่เพียงพอให้นำไปปฏิบัติได้สำหรับทุกๆ คน อย่างในกรณีของพระภิกษุรูปนี้ ท่านเป็นผู้มีปัญญาอัน สั่งสมมามาก แม้ได้ฟังวิธีการรักษาศีลแต่เพียงสั้นๆ ท่านก็เข้าใจว่าจะต้องนำไปปฏิบัติอย่างไร แต่สำหรับ พระภิกษุทั่วไป การได้ศึกษาเรียนรู้รายละเอียดของศีลที่พระองค์ขยายความไว้ ยังเป็นสิ่งจำเป็น 5.4.3 สุตะ “สุตะ” แปลว่า ได้ยิน ได้ฟังแล้ว โดยความหมาย สุตะจะหมายถึงการฟัง หรือการศึกษาเล่าเรียน การศึกษาในสมัยก่อน หรือแม้แต่ ปัจจุบัน ก็อาศัยจากการฟัง และการดูหรืออ่านเป็นหลัก เป็นการเปิดรับข้อมูลใหม่ๆ ที่ทำให้เราได้ปัญญา ซึ่งการ ศึกษาธรรมะก็มีหลายวิธี เช่น การฟังเทศน์ การค้นคว้าจากตำรับตำรา การสนทนาธรรม การประชุมกลุ่ม 1204 ราชบัณฑิตยสถาน พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542, (กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์,2546), หน้า 98 DOU แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More