วิธีการวางตัวกับบุคคลทั้ง 4 กลุ่ม SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา หน้า 191
หน้าที่ 191 / 252

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการวางตัวของพระภิกษุต่อกลุ่มคน 4 กลุ่ม โดยอธิบายถึง 5 ลักษณะการกระทำที่เหมาะสม ได้แก่ การเข้าไปหา การยืน การกระทำ การนั่ง และการนิ่ง โดยยกตัวอย่างจากการบิณฑบาตของพระภิกษุซึ่งต้องเข้าไปหาสาธุชนในทุกระดับ รวมถึงการเข้ากับบริษัทต่างๆ ของพระพุทธเจ้าที่ทรงแสดงถึงความเข้าใจและปฏิบัติได้อย่างลงตัว ทำให้ไม่เป็นที่น่ารังเกียจ

หัวข้อประเด็น

-วิธีการวางตัว
-การบิณฑบาต
-ความเหมาะสมตามพระธรรมวินัย
-พระพุทธเจ้าและการปฏิบัติ
-กลุ่มคนและวัฒนธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

8.6 วิธีการวางตัวกับบุคคลทั้ง 4 กลุ่ม 8.6.1 วางตัวอย่างไรให้เหมาะสม พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงการวางตัวกับกลุ่มคนทั้ง 4 กลุ่ม ไว้ 5 ลักษณะ คือ การเข้าไปหา การยืน การกระทำ การนั่ง และการนิ่ง ในอาการทั้ง 5 นั้น มีรายละเอียดแตกต่างกันไปบ้างสำหรับแต่ละ กลุ่มคน และสถานการณ์ ทั้งนี้เพราะความแตกต่างทางความคิด ความเห็น วัฒนธรรมประเพณี รวมทั้งจริต อัธยาศัยในแต่ละกลุ่มอาจแตกต่างกันไป และแม้กระทั่งในกลุ่มเดียวกันก็อาจจะยังมีความแตกต่างกันอีก แต่โดยรวมแล้วพระภิกษุจะต้องมีกิริยาอาการอันน่าเลื่อมใสตามกรอบของพระธรรมวินัย เมื่อเข้าไปสู่ชุมชนใด แล้วต้องไม่เก้อเขิน สง่างาม สมกับเป็นสมณะผู้บริบูรณ์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา และต้องไม่เป็นที่น่ารังเกียจ ของทุกชุมชน เช่นเดียวกับพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ทรงตรัสว่าพระองค์เข้าไปสู่บริษัทใด ย่อม กลมกลืนกับบริษัทนั้นได้ทันที หมายความว่าพระองค์ทรงทราบถึงความพอดี และทรงปฏิบัติพระองค์เมื่ออยู่ ท่ามกลางสมาคมนั้นๆ ได้อย่างดีไม่มีที่ติสักนิดเดียว ซึ่งพระองค์ทรงตรัสเรื่องเหล่านี้ไว้ใน ปริสสูตร ว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเข้าไปหาบริษัทกษัตริย์หลายร้อยบริษัท ย่อมรู้ดีว่า แม้ในบริษัทนั้นเราเคย นั่งประชุมด้วย เคยสนทนาปราศรัยด้วย เคยสนทนาธรรมด้วย ในบริษัทกษัตริย์นั้น กษัตริย์เหล่านั้น มีวรรณะเช่นใด เราก็มีวรรณะเช่นนั้น กษัตริย์เหล่านั้นมีเสียงเช่นใด เราก็มีเสียงเช่นนั้น เราชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญร่าเริงด้วยธรรมีกถา และเมื่อเรากำลังพูดอยู่ บริษัทกษัตริย์เหล่านั้นย่อมไม่รู้ ใคร หนอนี่ เป็นเทวดาหรือมนุษย์พูดอยู่ ครั้นเราชี้แจงให้เห็นแจ้งให้สมาทานให้อาจหาญร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว หายไป เมื่อเราหายไปแล้วกษัตริย์เหล่านั้นก็ไม่รู้ว่าใครหนอน เป็นเทวดาหรือมนุษย์หายไปแล้ว แม้บริษัท พราหมณ์ ฯลฯ บริษัทคฤหบดี ฯลฯ บริษัทสมณะ ฯลฯ บริษัทเทวดา ฯลฯ...” ในอาการที่ควรกระทำ 5 ประการ มีตัวอย่างดังนี้ 1. “เข้าไปหา”กรณีนี้สามารถดูตัวอย่างจากการบิณฑบาตของพระภิกษุก็จะเห็นรายละเอียดได้อย่าง ชัดเจน ทั้งนี้เนื่องจากว่า เป็นกิจวัตรประจำวันที่พระภิกษุจะต้องเข้าไปหาสาธุชนในทุกระดับ ทั้งกษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี ก็จึงต้องเข้าไปหาด้วยอาการอย่างนี้คล้ายๆ กัน และหากจะต่างกันไปบ้างก็คงอยู่ที่ วัตถุประสงค์ของการเข้าไป ในส่วนของพระวินัย พระองค์ทรงสอนให้พระภิกษุเข้าไปบิณฑบาต” ดังนี้ ปริสสูตร, อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต, มก. เล่ม 37 ข้อ 166 หน้า 611 วัตตขันธกะ ปิณฑจาริกวัตร, พระวินัยปิฎก จุลวรรค, มก. เล่ม 9 ข้อ 427 หน้า 349 180 DOU แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More