การประเมินคุณธรรมเพื่อความก้าวหน้าในพระพุทธศาสนา SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา หน้า 236
หน้าที่ 236 / 252

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงความสำคัญของการประเมินคุณธรรมในตัวเอง โดยเน้นถึงการประเมินจากธรรม 6 ประการ ได้แก่ ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา และปฏิภาณ การประเมินจะช่วยให้สามารถระมัดระวังการกระทำและส่งเสริมจิตใจที่ดี และยังเป็นการพัฒนาตนให้ก้าวหน้าทั้งในมิติของกาย วาจา และใจให้บริสุทธิ์ในแนวทางของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า การประเมินเป็นเหมือนการส่องกระจกดูตัวเองเพื่อป้องกันไม่ให้ตกอยู่ในความประมาท

หัวข้อประเด็น

-การประเมินคุณธรรม
-ศรัทธา
-ศีล
-การพัฒนาตนเอง
-ปัญญา
-การประคับประคองตัว

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ย่อมเกิดความเปลี่ยนแปลงทั้งกาย วาจา ใจ เช่นมีควมสงบสำรวม มีความบริสุทธิ์สะอาด คอยระมัดระวัง ตนเองจากบาป และรักในการสร้างบุญบารมี สิ่งเหล่านี้เป็นคุณธรรมที่เกิดขึ้นจากการได้ฝึกฝนอบรมตนเอง ดังนั้น พระภิกษุจึงควรรู้จักประเมินคุณธรรมของตน เพื่อให้ทราบความก้าวหน้า ว่าความสำรวมระวังในกาย วาจา ของเราพัฒนาไปได้มากแค่ไหน หรือหากบกพร่อง ก็จะได้รีบแก้ไข เพื่อจะได้ฝึกฝนต่อไปได้อย่าง ถูกต้อง สมบูรณ์ สำหรับวิธีการประเมินความก้าวหน้าของคุณธรรมนั้น ต้องอาศัยความเป็นอัตตัญญู คือ อาศัยธรรม ทั้ง 6 ประการ ได้แก่ ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา และปฏิภาณ โดยการประเมินดังนี้ คือ 1) ประเมิน “ศรัทธา” ของตนเองว่ามีความเชื่อมั่น อยากที่จะปฏิบัติตัวเองให้บริสุทธิ์กาย บริสุทธิ์ วาจา ไม่ปรารถนาให้ใครเดือดร้อน ด้วยการสำรวมในพระปาฏิโมกข์ ตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอน ไว้เพียงใด 2) ประเมิน“ศีล” ของตนเองว่า สามารถรักษาได้รัดกุม พยายามที่จะไม่ทำตนให้หลุดออกจากกรอบ แห่งศีล มีความพยายามรักษาศีลให้บริสุทธิ์ยิ่งๆ ขึ้นไป มากน้อยเพียงใด 3) ประเมิน “สุตะ” ของตนเองว่า มีความพากเพียรที่จะศึกษา ทุ่มเทหาความรู้เพิ่มเติมในเรื่องการ สำรวมในพระปาฏิโมกข์ ทั้งที่มีในพระวินัย ในพระสูตร หรือจากครูอาจารย์ จากแหล่งความรู้อื่นๆ มาก น้อยเพียงไร 4) ประเมิน “จาคะ” ของตนเองว่า สามารถสละวัตถุสิ่งของที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสห้าม หรือ ใช้ในสิ่งของที่ทรงอนุญาตให้ใช้ รวมไปถึงการตัดใจ ห้ามใจ ในทุกสิ่งทุกอย่าง ที่กระทบต่อความสำรวมใน พระปาฏิโมกข์ ว่ามีมากหรือน้อยเพียงใด 5) ประเมิน “ปัญญา” ของตนเองว่า มีความรู้ ความเข้าใจ จนสามารถนำข้อบัญญัติในพระ ปาฏิโมกข์ มาปฏิบัติตามได้อย่างมีเหตุมีผล และตรงวัตถุประสงค์ที่พุทธองค์ต้องการได้มากน้อยเพียงใด 6) ประเมิน “ปฏิภาณ” ของตนเองว่า สามารถนำความรู้ในเรื่องการสำรวมในพระปาฏิโมกข์มา ใช้ได้อย่างถูกต้องในชีวิตประจำวันได้มากน้อยเพียงใด เช่นหากต้องกระทำสิ่งใด ก็ตัดสินวินิจฉัยให้ถูกต้อง ตามพระปาฏิโมกข์ได้ในทันที ข้อดีของการรู้จักประเมินคุณธรรม คือทำให้ได้พิจารณาตนเอง และยังทำให้เป็นผู้ไม่ประมาท ไม่ ตกหลุมพรางของการฝึกตัวเช่นหลงติดอยู่ในคุณธรรมขั้นต่ำโดยไม่พยายามทำให้คุณธรรมก้าวหน้าไปกว่าเดิม ดังนั้น การประเมินคุณธรรมบ่อยๆ นี้ ก็เหมือนกับที่ได้ส่องกระจกดูตัว สมกับที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน ฐิติสูตร' ว่า ฐิติสูตร, อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต, มก. เล่ม 38 ข้อ 53 หน้า 173 บทที่ 10 ความสัมพันธ์ของคุณกโมก คัลลานสูตร กับธัมมัญญสูตร DOU 225
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More