ข้อความต้นฉบับในหน้า
...ดูก่อนสารีบุตร เมื่อบุคคลเสพธรรมารมณ์ที่รู้ได้ทางมโนแบบไร
อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง
ธรรมารมณ์ที่รู้ได้ทางมโนแบบนี้ ไม่ควรเสพ
ดูก่อนสารีบุตร แต่ว่าเมื่อบุคคลเสพธรรมารมณ์ที่รู้ได้ทางมโนแบบไร
อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น
ธรรมารมณ์ที่รู้ได้ทางมโนแบบนี้ ควรเสพ...
ดังนั้น หลักการตัดสินใจว่า เรื่องใดควรหรือไม่ควรที่จะคิด พูด หรือกระทำ จึงมีองค์ประกอบ ดังนี้
1. หากคิด พูด กระทำไปแล้ว มีผลทำให้โอกาสในการเกิดกุศลกรรมเพิ่มขึ้น และโอกาสในการ
เกิดอกุศลกรรมลดลง สิ่งนั้น “ควร” คิด พูด หรือกระทำ
2. หากคิด พูด กระทำไปแล้ว มีผลทำให้โอกาสในการเกิดกุศลกรรมลดลง และโอกาสในการเกิด
อกุศลกรรมเพิ่มขึ้น สิ่งนั้น “ไม่ควร” คิด พูด หรือกระทำ
2.3.3 ขั้นตอนที่ 3 “รู้จักประมาณในโภชนะ”
เมื่อพระภิกษุสามารถฝึกฝนอบรมตนเองจนเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายได้ดีแล้วพระพุทธ
องค์จะทรงแนะนำให้ยิ่งขึ้นไปว่า
“ดูก่อนภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ คือ พึงบริโภค
อาหาร พิจารณาโดยแยบคายว่า เราบริโภคมิใช่เพื่อจะเล่น มิใช่เพื่อจะมัวเมา
มิใช่เพื่อจะประดับ มิใช่เพื่อจะตกแต่งร่างกายเลย บริโภคเพียงเพื่อ
ร่างกายดำรงอยู่ เพื่อให้ชีวิตเป็นไป เพื่อบรรเทาความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์
พรหมจรรย์เท่านั้น ด้วยอุบายนี้เราจะป้องกันเวทนาเก่า ไม่ให้เวทนาใหม่
เกิดขึ้น และความเป็นไปแห่งชีวิตความไม่มีโทษ ความอยู่สบาย จักมีแก่เรา”
คำว่า “รู้จักประมาณในโภชนะ” หมายถึง ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสหลักการบริโภคอาหารอย่างแยบคาย ไว้ 4 ลักษณะ เพื่อสอนพระภิกษุ
ให้ละอุปนิสัยที่ไม่ดี และเพื่อป้องกันไม่ให้กิเลสเฟื่องฟูขึ้นมาในใจ โดยทรงให้ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่อง
การบริโภคอาหารไว้ดังนี้ คือ
เสริตัพพาเสวิตัพพสูตร, มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์, มก. เล่ม 22 ข้อ 229 หน้า 271
34 DOU แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา