ข้อความต้นฉบับในหน้า
5. การสละ และการกำจัดปัจจัย 4 ในขั้นตอนที่ 5 นี้ แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ
1) การสละ หมายถึงเมื่อได้รับปัจจัย 4 มาแล้ว หากเห็นว่าสามารถแบ่งปันปัจจัย 4 ให้เป็นประโยชน์
แก่เพื่อนสหธรรมิกผู้ประพฤติธรรมได้ก็ควรทำ หรือบางครั้งได้ปัจจัย 4 ที่มีความประณีตมาก เหมาะสมแก่
ผู้มีคุณธรรมมากกว่าตน เช่น พระเถระผู้มีคุณธรรม หรือพระอุปัชฌาย์อาจารย์ ก็อาจน้อมนำปัจจัย 4 นั้น
ถวายให้ท่านได้ใช้สอย
2) การกำจัดปัจจัย 4 หมายความว่าหากพระภิกษุใช้สอยปัจจัย 4 จนหมดอายุการใช้งานแล้ว
หรือจำเป็นต้องทำลายไป ต้องกำจัดสิ่งนั้นไปให้เหมาะสมตามวิธีการ เช่น ผ้าจีวรเก่าๆ ที่ใช้ไม่ได้แล้ว อาจ
นำไปตัดแบ่งเป็นผ้าผืนเล็กๆ สำหรับทำความสะอาด หรืออาหารบิณฑบาตที่เหลือ ไม่สามารถเก็บไว้ได้
ให้นำไปเททิ้งในที่อันสมควร เป็นต้น
6.8 การ “รับ” ปัจจัย 4
ความสำคัญ และวิธีการ “รับ” ปัจจัย 4
6.8.1 ความสำคัญของการ “รับ” ปัจจัย 4
เป็นที่ทราบกันดีว่าปัจจัย 4 เป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับทุกๆ ชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ
พระภิกษุ ปัจจัย 4 ดูจะมีความสำคัญเป็นพิเศษมากขึ้นไปอีก ด้วยว่ามีข้อกำหนดทางพระวินัยที่พระสัมมา
สัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ ทำให้พระภิกษุต้องใช้ปัจจัย 4 เท่าที่จำเป็น ทั้งโดยประเภทและปริมาณ อีกทั้ง
ต้องใช้สอยกันตามวัตถุประสงค์อย่างจริงจัง ซึ่งพระพุทธบัญญัติเหล่านั้นเอื้อต่อการฝึกฝนอบรมตนเองให้
คุณธรรมของท่านก้าวหน้าขึ้นมา นอกจากนี้ ปัจจัย 4 ยังเป็นที่มาของนิสัย และพระภิกษุสามารถนำมาใช้
เป็นอุปกรณ์สําหรับ ฝึกตนเองให้หมดจากกิเลสได้ด้วย
แต่ประโยชน์จากปัจจัย 4 ที่พระภิกษุจะได้รับ จะมีขั้นตอนสำคัญที่เป็นตัวกำหนดทุกสิ่งทุกอย่าง
ดังที่กล่าวมา ขั้นตอนนั้นก็คือการ “รับ” ปัจจัย 4
เหตุใดพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสว่า “ภิกษุใดจะเป็นมัตตัญญูได้ ภิกษุนั้นต้องรู้จักประมาณในการ
‘รับ” ปัจจัย 4 ของตนเองให้ได้ด้วย”
ที่เป็นเช่นนั้น เพราะหากมองย้อนกลับไปถึงวงจรปัจจัย 4 ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของพระภิกษุ
จะพบว่า กว่าพระภิกษุจะได้พิจารณาบริโภคใช้สอยปัจจัย 4 ให้ได้ตามวัตถุประสงค์ หรือกว่าปัจจัย 4 จะมี
บทที่ 6 ขั้ น ต อ น ที่ 4 มัตตัญญู DOU 131