เศรษฐีกับความตระหนี่ SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา หน้า 189
หน้าที่ 189 / 252

สรุปเนื้อหา

ในเรื่องนี้ เศรษฐีต้องต่อสู้กับความตระหนี่ของตนเอง แม้จะมีความต้องการที่จะกินขนมเบื้องแต่เขาก็เกรงว่าจะมีคนอยากกินด้วย จนท้ายที่สุดเขาก็ได้เรียนรู้ถึงการทำบุญและใช้ทรัพย์ในการกุศล เมื่อพระมหาโมคคัลลานเถระได้แสดงอิทธิฤทธิ์ทำให้เขาตระหนักถึงความสำคัญของการให้และความเมตตา ซึ่งนำไปสู่การบรรลุธรรมและการใช้ทรัพย์ในการทำบุญในพระพุทธศาสนาอย่างเต็มที่

หัวข้อประเด็น

-ความตระหนี่ของเศรษฐี
-ขนมเบื้อง
-การทำบุญในพระพุทธศาสนา
-บทเรียนจากพระมหาโมคคัลลานเถระ
-การบรรลุธรรมของเศรษฐีกับภรรยา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

จากกรุงราชคฤห์วันหนึ่งเศรษฐีเห็นคนบ้านนอกกินขนมเบื้องจึงนึกอยากกินบ้างแต่ก็เกรงว่าคนอื่นจะอยากกิน ด้วย จึงเกิดความตระหนี่อดกลั้นความอยากเอาไว้ จนร่างกายผอมเหลือง ภรรยาเห็นจึงเข้าไปถาม พอทราบก็ รับจะทำขนมเบื้องให้ แต่เพราะความตระหนี่ จึงขอให้ภรรยาทำให้ตนกินแต่เพียงผู้เดียว เมื่อภรรยาจะลงมือ ทำก็เกรงว่าจะมีคนเห็น จึงให้ภรรยานำอุปกรณ์ข้าวของขึ้นไปทำอยู่บนปราสาทชั้น 7 กัน 2 คน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทราบด้วยอานุภาพของพระองค์ จึงตรัสเรียกพระมหาโมคคัลลานเถระ มาแต่เช้าตรู่ และรับสั่งให้พระเถระไปทรมานเศรษฐีให้สิ้นพยศ เพื่อให้สองสามีภรรยานำขนมเบื้องนั้นมาที่ พระเชตวันแล้วถวายแก่พระองค์กับภิกษุ 500 รูป ด้วยกำลังของตน จากนั้นพระเถระก็ได้เหาะด้วยฤทธิ์ไป ยังหน้าต่างปราสาท เศรษฐีเห็นเข้าก็ถึงกับเดือดดาล แม้พระเถระจะแสดงฤทธิ์ด้วยการยืน การนั่งสมาธิ ในอากาศ เป็นต้น เศรษฐีก็ไม่ยอมให้ขนมเบื้องนั้น ต่อมาพระเถระได้ยังหวนควัน เศรษฐีกลัวไฟจะไหม้ปราสาท จึงคิดว่าจะให้ขนมสักชิ้นหนึ่ง โดยสั่งให้ภรรยาหยอดขนมเบื้องแต่น้อย ปรากฏว่าขนมเบื้องได้ขยายใหญ่ขึ้น แม้จะหยอดเองกี่ครั้งๆ ก็ยิ่งขยายใหญ่ขึ้นไปอีก เศรษฐีก็เบื่อหน่ายจึงสั่งภรรยาให้ถวายขนมแก่พระเถระหนึ่ง ชิ้น ปรากฏว่าขนมได้ติดไปทั้งหมดแม้จะพยายามดึงแยกออกจากกันก็ไม่สามารถแยกได้ ดึงกันมาดึงกันไป จนเศรษฐีเหนื่อยหมดแรง ไม่อยากกิน จึงบอกภรรยาให้ถวายขนมเบื้องแก่พระเถระไปทั้งหมด พระเถระเห็นดังนั้นจึงแสดงธรรมจนเศรษฐีเลื่อมใส และได้พาเศรษฐีกับภรรยาไปถวายขนมเบื้องแด่ พระบรมศาสดาและพระภิกษุ 500 รูป เมื่อเสวยเสร็จพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรม จนเศรษฐีและภรรยา ได้บรรลุเป็นพระโสดาบันทั้งสองคน ตั้งแต่นั้นมา เศรษฐีและภรรยาจึงใช้ทรัพย์ 80 โกฏิ มาทำบุญในพระ ศาสนาจนตลอดชีวิต ทรัพย์ก็คืออำนาจอย่างหนึ่ง ในกรณีของเศรษฐีท่านนี้ นับว่ามีบุญดีที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมี พระเมตตา จึงทำให้เศรษฐีได้ใช้ทรัพย์นั้นมาสั่งสมบุญบารมีให้กับตนเอง นอกจากนั้นยังได้ใช้ทรัพย์มา ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และเป็นกำลังแก่พระภิกษุในการประกาศธรรม 4) ความถือดีของสมณะ สมณะชื่อว่ามีทิฏฐิ คือถือดีในความเชื่อของตน ซึ่งเกี่ยวข้องกับความรู้สึกนึกคิดทางจิตใจ และมี อิทธิพลไปทำให้บุคคลอื่นเชื่อตามไปได้ด้วย เมื่อนักบวชมีความเชื่อหรือความเห็นเป็นอย่างไรก็มักมีวัตรปฏิบัติ ไปในทางเคร่งครัดต่อความเห็นนั้น เช่น บางพวกเห็นว่าการทรมานตนเองดี ก็จะทรมานตนเองด้วยวิธีต่างๆ อย่างเข้มงวดจริงจัง หรือบางพวกเห็นว่าการบูชาไฟ สามารถทำให้หมดกิเลสได้ ก็จะบูชาไฟกันอย่างจริงจัง เป็นต้น ดังนั้นไม่ว่านักบวชจะเป็นสัมมาทิฏฐิ หรือมิจฉาทิฏฐิก็ตาม ก็อาจน้อมนำใจของคนผู้ที่มีจริตอัธยาศัย หรือมีความเห็นไปในทางเดียวกันให้คล้อยตามกันไปได้ง่ายนักบวชจึงเป็นเหมือนผู้นำทางจิตวิญญาณของผู้คน 178 DOU แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More