การสละอารมณ์และปัญญาในพระธรรม SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา หน้า 112
หน้าที่ 112 / 252

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงการสละอารมณ์ที่ไม่ดีเช่น โลภ โกรธ หลง เพื่อให้จิตใจผ่องใสและมีสมาธิ พร้อมด้วยการพัฒนาปัญญาที่มี 3 ระดับ คือ จินตมยปัญญาที่เกิดจากการคิดและพิจารณา โดยยกตัวอย่างจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อเน้นความสำคัญของการยึดมั่นในอารมณ์ที่ถูกต้องเพื่อบรรลุพระนิพพาน โดยอ้างถึงการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมีสติ ทำใจให้สงบและไม่ยึดติดกับอารมณ์ที่มาก่อสร้างความทุกข์ ในที่สุดเป็นการสร้างความสงบสุขในจิตใจและการมีปัญญาในการมองเห็นความจริง

หัวข้อประเด็น

-สละอารมณ์
-ปัญญา
-พระธรรม
-ความสงบ
-พระนิพพาน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

3. สละอารมณ์ คือ สละอารมณ์ที่ไม่ดีต่างๆ ออกไปจากใจให้หมด ทั้งอารมณ์ที่เกิดเพราะความ โลภ ความโกรธ ความหลง เมื่อสละอารมณ์ได้ ใจก็คลายจากสิ่งต่างๆ นอกตัว กลับเข้ามาตั้งมั่นอยู่ภายใน เช่นเมื่อใจถูกนิวรณ์ทั้ง 5 ครอบงำ จึงทำให้ใจไม่ผ่องใส จิตไม่ตั้งมั่น ไม่เป็นสมาธิ การสละนิวรณ์ 5 ได้ จึงให้ ผลในทางตรงข้าม คือสามารถหยุดใจ และจิตก็ตั้งมั่น สมดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน “เตวิชชสูตร” ว่า “เมื่อภิกษุตามเห็นนิวรณ์ 5 เหล่านี้ที่ละได้แล้วในตน ปราโมทย์ย่อมเกิด ขึ้น เมื่อมีปราโมทย์ก็เกิดปีติ เมื่อใจประกอบด้วยปีติกายก็สงบ เมื่อกายสงบก็ เสวยสุข เมื่อเสวยสุขจิตก็ตั้งมั่น” ดังนั้น เราจึงควรหมั่นฝึกใจด้วยการสละอารมณ์ ไม่ให้เกิดความยินดี และยินร้าย เพื่อรักษา สภาพความเป็นปกติของใจ ดังที่พระมงคลเทพมุนีได้เคยกล่าวถึงการสละอารมณ์ และผลจากการสละไว้ว่า “ทานในพระปรมัตถ์ 6 คือ อายตนะ 6 คือ ยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ถอนความยินดีในอารมณ์เหล่านี้ออกเสียได้ สละความยินดีในอารมณ์เหล่านี้เสียได้...ความยินดีเหล่านี้ หาก ถอนอารมณ์ออกเสียได้ไม่ให้เสียดแทงเราได้ พิจารณาว่านี้เป็นอารมณ์ของชาวโลก ไม่ใช่อารมณ์ของธรรม ปล่อยอารมณ์เหล่านั้นเสีย ไม่ยึดมั่นถือมั่น ไม่ให้เข้าไปเสียดแทงใจ ทำใจให้หยุดให้นิ่ง นี่เขาเรียกว่า ให้ ธรรมารมณ์เป็นทาน ย่อมมีกุศลใหญ่ เป็นทางไปแห่งพระนิพพานโดยแท้ และเป็นทานอันยิ่งใหญ่ทางปรมัตถ์” 5.4.5 ปัญญา “ปัญญา” แปลว่า ความรอบรู้ ความรู้ทั่ว ความฉลาดเกิดแต่เรียน และคิด ปรีชาหยั่งรู้เหตุผล ความรู้เข้าใจชัดเจน ความรู้เข้าใจหยั่งแยกได้ในเหตุผล ดีชั่ว คุณโทษ ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ เป็นต้น และ รู้ที่จะจัดแจง จัดสรร จัดการ ความรอบรู้ในกองสังขาร" มองเห็นตามเป็นจริง พื้นฐาน ปัญญามีอยู่ 3 ระดับ ได้แก่ 1. จินตมยปัญญา ปัญญาที่เกิดขึ้นจากการคิดพิจารณาหาเหตุผล โดยอาศัยความรู้เดิมที่มีอยู่เป็น เตวิชชสูตร, ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค, มก. เล่ม 12 ข้อ 383 หน้า 272 พระธรรมเทศนาพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร), เรื่อง "ภัตตานุโมทนากถา”, 9 พฤษภาคม 2497, หน้า 358 ปรมัตถ์ แปลว่า ประโยชน์อย่างยิ่ง คือพระนิพพาน หรือแปลว่า ความหมายสูงสุด ความหมายที่แท้จริง *สังขาร แบ่งเป็น 2 ประการคือ สังขารที่ไม่มีใจครอง เรียกอนุปาทินกสังขาร เช่น รถ ภูเขา เรือน เป็นต้น และสังขาร ที่มีใจครอง เรียกอุปาทินนกสังขาร เช่น สัตว์ดิรัจฉาน และมนุษย์ ทั้ง 2 ประเภทนี้ ย่อมเกิดขึ้นและตั้งอยู่เพราะอาศัยเหตุแต่งขึ้น ก็ต้องเป็นไปตามเหตุ บทที่ 5 ขั้ น ต อ น ที่ 3 อัต ตั ญ ญ DOU 101
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More