การกระทำที่เหมาะสมและการนั่งตามหลักในพระพุทธศาสนา SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา หน้า 194
หน้าที่ 194 / 252

สรุปเนื้อหา

ในพระพุทธศาสนา การกระทำที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ตัวอย่างจากสามเณรนิโครธที่ทำให้พระเจ้าอโศกเกิดความเลื่อมใส และเป็นผลให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง สามเณรนิโครธมีอาการงดงาม จนทำให้พระราชานิมนต์มาในพระราชวัง และมีการแสดงอาการที่ถูกต้องในการนั่งบริเวณบัลลังก์ใต้เศวตฉัตร การเลือกที่นั่งอย่างถูกต้องมีความสำคัญ และควรพิจารณาความเหมาะสมตามสถานการณ์ ซึ่งผู้ที่มีการฝึกฝนควรใช้วิจารณญาณในการกระทำ

หัวข้อประเด็น

-การกระทำที่เหมาะสม
-สามเณรนิโครธ
-การนั่งตามหลัก
-พระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

3. “ทำ” ประการถัดมา พระองค์ตรัสว่า “พึงทำอย่างนี้” ซึ่งการกระทำนั้น จะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ซึ่งอาจแตกต่างกันไป แต่ถึงอย่างไรการจะทำอะไรหรือไม่ทำอะไรก็เป็นสิ่งสำคัญดังตัวอย่างเรื่องของสามเณร นิโครธที่ทำให้พระเจ้าอโศกทรงเกิดความเลื่อมใส จนเป็นเหตุให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองในสมัยนั้นอย่าง มากมายทีเดียว เรื่องของสามเณรนิโครธ เกิดขึ้นเพราะ วันหนึ่งพระเจ้าอโศกทรงทอดพระเนตรเห็นสามเณรเดิน ไปด้วยอาการงดงามน่าเลื่อมใส จึงทรงโปรดให้นิมนต์สามเณรมาในพระราชวัง นั่งเถิด เมื่อสามเณรเข้ามาด้วยอาการสงบแล้ว พระราชาตรัสบอกสามเณรว่าให้หาที่นั่งอันควรแล้วนิมนต์ สามเณรนั้นเหลียวดูข้างโน้นข้างนี้แล้วคิดว่า บัดนี้ ไม่มีภิกษุเหล่าอื่น จึงเดินเข้าไปใกล้ บัลลังก์ ซึ่งยกเศวตฉัตรกั้นไว้ แล้วแสดงอาการแด่พระราชา เพื่อต้องการให้ทรงรับบาตร พระราชาทรงทอดพระเนตรเห็นสามเณรนั้นกำลังเดินเข้าไปใกล้บัลลังก์นั่น จึงทรงดำริว่า วันนี้ เองสามเณรรูปนี้จักเป็นเจ้าของราชมณเฑียรนี้ในบัดนี้ สามเณรถวายบาตรที่พระหัตถ์พระราชา แล้วขึ้นนั่งบนบัลลังก์ พระราชาทรงน้อมถวายอาหารทุก ชนิดคือข้าวต้ม ของควรเคี้ยว และข้าวสวย ที่เขาเตรียมไว้เพื่อประโยชน์แก่พระองค์ แก่สามเณร จากเรื่องตัวอย่างของสามเณรนิโครธ จะเห็นว่าเมื่อได้รับการเชื้อเชิญให้นั่ง สามเณรยังต้องดูว่า ณ ที่นั้นมีพระภิกษุที่เราต้องให้ความเคารพอยู่ด้วยไหม เมื่อไม่มี จึงคิดว่าเรานี้เป็นผู้มีศีลสูงสุด ควรแก่อาสนะที่ ดีที่สุด คือบนบัลลังก์ใต้เศวตฉัตร การกระทำของสามเณรนี้ เป็นที่ถูกพระราชหฤทัย แต่มิได้หมายความว่า จะสามารถทำอย่างสามเณรนิโครธได้ทุกครั้ง เพราะนี่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ และวิจารณญาณของผู้ที่ ฝึกฝนอบรมตนเองมาอย่างดี เรื่องนี้จึงเป็นตัวอย่างที่ดี ที่ชี้ว่า การกระทำที่เหมาะสม มีผลต่อความเจริญ ของพระพุทธศาสนา 4. “นั่ง” ประการถัดมา พระองค์ตรัสว่า “จึงนั่งอย่างนี้” ซึ่งอาการนั่งที่ถูกต้องนั้น ควรเว้นจาก ลักษณะ 6 อย่าง ดังนี้ คือ 1. นั่งไกลเกินไป ปฐมสมันตปาสาทิกา อรรถกถาพระวินัยปิฎก, มก. เล่ม 1 หน้า 84 มหานิทานสูตร, อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค, มก. เล่ม 13 หน้า 189 บ ท ที่ 8 ขั้ น ต อ น ที่ 6 ปริสัญญู DOU 183
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More