ข้อความต้นฉบับในหน้า
1. เช้าใดยังไม่ได้ทำทาน เช้านั้นอย่าเพิ่งรับประทานข้าว
2. วันใดยังไม่ตั้งใจรักษาศีล วันนั้นอย่าเพิ่งออกจากบ้าน
3. คืนใดยังไม่ได้สวดมนต์เจริญสมาธิภาวนา คืนนั้นอย่าเพิ่งนอน
ต้องอดทนฝึกตนให้สร้างความดีเรื่อยไป แม้จะต้องกระทบกระทั่งกับสิ่งใด มีอุปสรรคเพียงไหน
ก็ปักใจมั่นไม่ยอท้อ กัดฟันสู้ทำความดีเรื่อยไป ให้สมดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า
“แม้หม้อน้ำยังเต็มด้วยหยาดน้ำที่ตกลงมา (ทีละหยาดๆ) ได้ฉันใด
ธีรชน (ชนผู้มีปัญญา) สั่งสมบุญแม้ทีละน้อยๆ ย่อมเต็มด้วยบุญได้ฉันนั้น”
จากข้อความข้างต้น ชี้ให้เห็นว่า ทาน ศีล ภาวนา เป็นสิ่งที่ไม่ควรขาด และจำเป็นต้องทำเป็นประจำ
ทุกวันในวิถีชีวิตของชาวพุทธ ซึ่งสามารถทำได้ง่ายๆ หลายประการด้วยกัน ได้แก่
1. การทำทาน เป็นการให้หรือแบ่งปันโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน และเนื่องจากในชีวิตประจำวันของ
แต่ละคน ซึ่งอาจจะอยู่ในภาวะหรือสถานภาพที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นเด็กวัยนักเรียน นักศึกษา ผู้ใหญ่
วัยทำงาน หรือผู้สูงอายุวัยเกษียณ สิ่งที่ให้ก็จะแตกต่างกันไปบ้าง เช่น ถ้าเป็นเด็กก็อาจจะมีขนม อุปกรณ์
เครื่องเขียนหรือของเล่นไปฝากเพื่อนๆ ส่วนผู้ใหญ่ก็อาจทำอาหารพิเศษแล้วนำไปแบ่งปันให้คนข้างบ้าน หรือ
เอาไปฝากคนที่ทำงาน เป็นต้น แม้การช่วยเหลือด้วยกำลังกาย เวลาที่สมาชิกในบ้าน เพื่อนบ้าน หรือที่ทำงาน
ขอแรงให้ช่วย ก็ยินดีช่วยด้วยความเต็มใจ รวมทั้งการให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ การให้ความรู้ในด้านต่างๆ
และความรู้ทางธรรมแก่ญาติมิตรเพื่อนฝูงด้วยความปรารถนาดี ตลอดจนการให้อภัยต่อญาติมิตรเพื่อนฝูง
อยู่เสมอ หรือให้ชีวิตสัตว์เป็นทาน การปล่อยสัตว์ปล่อยปลา เป็นต้น
สำหรับการทำทานกับพระภิกษุสงฆ์ ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล มีคุณธรรมสูง ก็จะมีอานิสงส์มาก และ
เป็นทานที่ทำได้ไม่ยาก สามารถทำได้ทุกวัน เช่น การตักบาตร อาจคอยใส่กับพระภิกษุหรือสามเณรที่
เดินบิณฑบาตในละแวกบ้านหรือที่ทำงาน หรือหากไม่สะดวกอาจนำเงินมาหยอดกระปุก เมื่อครบสัปดาห์ก็
นำเอาข้าวปลาอาหารพร้อมกับเงินที่เราทำบุญสั่งสมรายวันนั้น ไปถวายกับพระภิกษุสามเณรที่วัดก็ได้ ส่วน
การถวายสังฆทาน คือการถวายแก่สงฆ์โดยไม่เจาะจงพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ก็ควรหาโอกาสนำไปถวายที่วัด
หรือจะนิมนต์คณะสงฆ์มารับที่บ้านในโอกาสพิเศษในวันสำคัญต่างๆ เช่น วันพระ วันทำบุญขึ้นบ้านใหม่
วันคล้ายวันเกิด เป็นต้น
สมชาย ฐานวุฑโฒ, พระ, มงคลชีวิต ฉบับธรรมทายาท, (กรุงเทพฯ : ฐานการพิมพ์, 2542), หน้า 49
ว่าด้วยบุญและบาป, ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท, มก. เล่ม 42 หน้า 2
84 DOU แม่บท การฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา