เรื่องพระมหากัสสปเถระในสมัยพุทธกาล SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา หน้า 53
หน้าที่ 53 / 252

สรุปเนื้อหา

ในสมัยพุทธกาล พระมหากัสสปเถระได้เข้าเฝ้าพระพุทธองค์และได้รับการชวนให้นุ่งห่มจีวรและบริโภคโภชนะที่คฤหบดีถวาย แต่ท่านเลือกที่จะยังคงอยู่ในป่าเนื่องจากเห็นอำนาจประโยชน์ 2 ประการ คือ การมีความสุขในปัจจุบันและการเป็นแบบอย่างให้กับชนในอนาคต นอกจากนี้ยังช่วยให้พระภิกษุมีโอกาสได้ทบทวนข้อปฏิบัติของตน เพื่อความเข้าใจในธรรมะที่ถูกต้องและการปรับปรุงตัวเองต่อไป

หัวข้อประเด็น

-พระมหากัสสปเถระ
-ความสุขในชีวิตปัจจุบัน
-การปฏิบัติตามหลักธรรม
-การทบทวนความรู้
-ประโยชน์ที่ได้รับจากการอยู่ป่า

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เรื่องพระมหากัสสปเถระ ในสมัยพุทธกาล เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสป เถระเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อพระมหากัสสปนั่งเรียบร้อย แล้ว พระพุทธองค์ตรัสถามว่า “กัสสปะ บัดนี้เธอชราแล้ว ผ้าบังสุกุลเหล่านี้ของเธอหนัก ไม่น่านุ่งห่ม เธอจงนุ่งห่มจีวรที่คฤหบดีถวาย จงบริโภคโภชนะที่เขานิมนต์ และจงพักอยู่ ในสำนักของเราเถิด” ท่านพระมหากัสสปเถระกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นานมาแล้ว ที่ ข้าพระองค์อยู่ป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้อยู่ ป่าเป็นวัตร เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่ง ความเป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร...” “ดูก่อนกัสสปะ ก็เธอเล็งเห็นอำนาจประโยชน์อย่างไร...” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เล็งเห็นอำนาจประโยชน์ 2 ประการ คือ 1. เพื่อความอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน 2. เพื่ออนุเคราะห์ชนในภายหลังให้ยินดี ถือตามอย่างพระพุทธเจ้าและพระ สาวกในเรื่องการอยู่ป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความอยู่ป่าเป็น วัตร” “ดีละ ดีละ กัสสปะ เธอปฏิบัติเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก และเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่เทวดาและเหล่ามนุษย์ทั้งหลาย ดูก่อนกัสสปะ ถ้าอย่างนั้น เธอจงทรงผ้าบังสุกุลอันไม่น่านุ่งห่ม จงเที่ยวบิณฑบาต และจงอยู่ ในป่าต่อไปเถิด...” นอกจากนี้ การได้อยู่ในเสนาสนะอันเงียบสงัด ยังจะช่วยให้พระภิกษุมีโอกาสได้ทบทวนศีล และข้อ วัตรปฏิบัติต่างๆ ของตน รวมถึงตรวจทานความรู้ ความเข้าใจในธรรมะที่ตนได้ร่ำเรียนศึกษามา หากเห็น สิ่งใดเป็นข้อปฏิบัติที่ยังบกพร่อง เป็นความรู้ที่ตนยังเข้าใจไม่สมบูรณ์ ท่านจะได้รีบแก้ไขปรับปรุงตัวเอง หากเห็นสิ่งใดที่ทำไว้ถูกต้องดีงาม สะอาดบริสุทธิ์ ก็จะไม่เดือดเนื้อร้อนใจ มีความปลื้มใจเป็นอานิสงส์ ชิณณสูตร, สังยุตตนิกาย นิทานวรรค, มก. เล่ม 26 ข้อ 478 หน้า 561 42 DOU แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More