การฝึกอบรมพระภิกษุเพื่อความก้าวหน้าและการรู้จักกิจที่ควรทำ SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา หน้า 172
หน้าที่ 172 / 252

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาดังกล่าวกล่าวถึงความสำคัญของการฝึกอบรมพระภิกษุเพื่อไม่ให้เสื่อมจากกุศลธรรม โดยมีการระบุธรรม 6 ประการที่ทำให้พระภิกษุไม่รู้จักกิจสำคัญที่ควรทำ ซึ่งรวมถึงการเชื่อมโยงกับคฤหัสถ์และการไม่หลีกเลี่ยงจากความเสื่อม รวมถึงประโยชน์ที่ได้จากการฝึกฝนเพื่อพัฒนาตนเองในด้านต่างๆ โดยอ้างอิงถึงคำสอนจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและตำราที่เกี่ยวข้อง เช่น สามกสูตร และอังคุตตรนิกาย การเป็นกัลยาณมิตรให้กับตนเองก็เป็นสิ่งสำคัญในการฝึกฝนครั้งนี้

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของการฝึกอบรมพระภิกษุ
-ธรรม 6 ประการที่ทำให้เสื่อมจากกุศลธรรม
-วิธีการเป็นกัลยาณมิตรให้กับตนเอง
-อ้างอิงจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
-ประโยชน์จากการฝึกตามคำสอน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

1. ภิกษุอยู่ประจำที่ย่อมมีสิ่งของมาก มีการสะสมสิ่งของมาก 2. มีเภสัชมาก มีการสะสมเภสัชมาก 3. มีกิจมาก มีกรณียะมาก ไม่ฉลาดในกิจที่จะต้องทำ 4. ย่อมอยู่คลุกคลีด้วยคฤหัสถ์และบรรพชิตด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์อัน ไม่สมควร 5. เมื่อจะหลีกไปจากอาวาสนั้น ย่อมมีความห่วงใย” 3) เป็นผู้ที่ประกอบด้วยธรรม 6 ประการ ที่ทำให้เสื่อมจากกุศลธรรม ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธ เจ้าตรัสยืนยันไว้ใน “สามกสูตร” ว่า 1. ความเป็นผู้ชอบการงาน 2. ความเป็นผู้ชอบคุย 3. ความเป็นผู้หลับ 4. ความเป็นผู้ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ 5. ความเป็นผู้ว่ายาก 6. ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล....ในอนาคตกาล....ในปัจจุบันกาล เสื่อม จากกุศลธรรม ชนเหล่านั้น ทั้งปวง ก็เสื่อมแล้วจากกุศลธรรม เพราะ ธรรม 6 ประการนี้แล เพราะประกอบด้วยธรรมเหล่านี้ จึงเป็นเหตุให้พระภิกษุไม่รู้จักกิจที่ควรทำ เสียเวลาไปกับการ ทำกิจอันไม่เป็นสาระแก่นสาร คุณธรรมความดีงามที่ควรเจริญก้าวหน้า ก็เสื่อมถอยลงมาอย่างน่าเสียดาย 7.7 ประโยชน์ที่ได้จากการฝึกตามธัมมัญญูจนถึงกาลัญญู เมื่อพระภิกษุฝึกฝนอบรมตนเองจนเป็นธัมมัญญู เป็นอัตถัญญู เป็นอัตตัญญู เป็นมัตตัญญู และ เป็นกาลัญญูได้แล้ว เท่ากับว่าท่านสามารถเป็นกัลยาณมิตรให้กับตนเองได้ เพราะความที่ท่านรู้คำสอนของ สามกสูตร, อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต, มก. เล่ม 36 ข้อ 292 หน้า 579 บทที่ 7 ขั้ น ต อ น ที่ 5 กาลัญญ DOU 161
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More