การฟังสัทธรรมและการปฏิบัติธรรม SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา หน้า 251
หน้าที่ 251 / 252

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้พูดถึงการฟังสัทธรรมที่มีสองประเภทคือ บุคคลที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจฟัง โดยย้ำถึงความสำคัญของการทรงจำและการพิจารณาเนื้อหาธรรมที่ได้รับ รวมถึงการปฏิบัติธรรมที่นำไปสู่ประโยชน์ทั้งตนเองและผู้อื่น การปฏิบัติธรรมอย่างมีจิตสำนึกจะได้รับความสรรเสริญ ในขณะที่การกระทำที่ไม่ดีจะถูกติเตียน ในท้ายที่สุด อธิบายถึงภิกษุที่รวมธรรม 7 ประการและเป็นบุคคลที่ควรแก่ว่าการปฏิบัติธรรมจะเป็นนาบุญที่สำคัญที่สุดในโลก.

หัวข้อประเด็น

- ความสำคัญของการฟังสัทธรรม
- การแยกประเภทของผู้ฟัง
- การทรงจำและการพิจารณาเนื้อหาธรรม
- ประโยชน์ของการปฏิบัติธรรม
- ธรรม 7 ประการของภิกษุ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พวกหนึ่ง ต้องการจะฟังสัทธรรม พวกหนึ่งไม่ต้องการฟังสัทธรรม บุคคลที่ไม่ต้องการฟังสัทธรรม จึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นๆ บุคคลที่ต้องการฟังสัทธรรม จึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุนั้นๆ บุคคลที่ต้อง การฟังสัทธรรมก็มี 2 จําพวก คือ พวกหนึ่งตั้งใจฟังธรรม พวกหนึ่งไม่ตั้งใจฟังธรรม บุคคลที่ไม่ตั้งใจฟังธรรม พึงถูกติเตียนด้วยเหตุ นั้นๆ บุคคลที่ตั้งใจฟังธรรม จึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุนั้นๆ บุคคลที่ตั้งใจฟังธรรมก็มี 2 จำพวก คือ พวกหนึ่งฟังแล้วทรงจำธรรมไว้ พวกหนึ่งฟังแล้วไม่ทรงจำธรรมไว้ บุคคลที่ฟังแล้วไม่ทรงจำธรรม ไว้ จึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นๆ บุคคลที่ฟังแล้วทรงจำธรรมไว้ จึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุนั้นๆ บุคคลที่ ฟังแล้วทรงจำธรรมไว้ก็มี 2 จำพวก คือ พวกหนึ่งพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้พวกหนึ่งไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ บุคคลที่ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ จึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นๆ บุคคลที่พิจารณาเนื้อความ แห่งธรรมที่ทรงจำไว้ จึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุนั้นๆ บุคคลที่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ ก็มี 2 จําพวก คือ พวกหนึ่งรู้อรรถรู้ธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม พวกหนึ่งหารู้อรรถรู้ธรรม แล้วปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรมไม่บุคคลที่หารู้อรรถรู้ธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นๆ บุคคลที่ รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม จึงได้รับความสรรเสริญ ด้วยเหตุนั้นๆ บุคคลที่รู้อรรถรู้ธรรม แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ก็มี 2 จำพวก คือ พวกหนึ่งปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น พวกหนึ่งปฏิบัติทั้งเพื่อ ประโยชน์ตนและเพื่อประโยชน์ผู้อื่น บุคคลที่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น จึงถูกติเตียน ด้วยเหตุนั้นๆ บุคคลที่ปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตนและเพื่อประโยชน์ผู้อื่น จึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุนั้นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้รู้จักบุคคลโดยส่วน 2 ฉะนี้แล ภิกษุเป็นบุคคลปโรปรัญญู อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 7 ประการนี้แล เป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของ โลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ๆ 240 DOU แม่บท การฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More