ความหมายและความสำคัญของปริสัญญู SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา หน้า 180
หน้าที่ 180 / 252

สรุปเนื้อหา

บทความนี้อธิบายความหมายของปริสัญญู ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับพระภิกษุในการรู้จักกลุ่มบุคคลทั้ง 4 คือ กษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี และสมณะ โดยการรู้จักเข้าหาและวางตัวอย่างเหมาะสมจะทำให้เกิดการยอมรับและศรัทธาจากกลุ่มบุคคลเหล่านั้น การเป็นปริสัญญูจะช่วยเพิ่มโอกาสในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และทำหน้าที่กัลยาณมิตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้พระภิกษุสามารถถ่ายทอดธรรมะได้อย่างมีคุณค่า โดยไม่ต้องละทิ้งจริต อัธยาศัย ขนบธรรมเนียม และวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มบุคคล

หัวข้อประเด็น

- ปริสัญญู
- ความสำคัญของการรู้จักกลุ่มบุคคล
- พฤติกรรมการเข้าหาคน
- การเผยแผ่พระพุทธศาสนา
- มารยาทและจริตในสังคม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ฉะนั้น เราจึงเรียกว่าเป็นปริสัญญ ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู มัตตัญญู กาลัญญู ปริสัญญู ด้วยประการฉะนี้ 8.2 คำแปลและความหมาย “ปริสัญญ” แปลว่า ผู้รู้จักบริษัท รู้จักสังคมของคนเพื่อจะได้ประพฤติปฏิบัติกาย วาจา หรือ ปรับตัวให้เหมาะสมกับบริษัทนั้น หรือสังคมนั้นโดยไม่เสียธรรมะ โดยความหมาย “ปริสัญญ” หมายถึง การเข้าหาคนเป็น คือ ความเป็นผู้รู้จักกลุ่มบุคคลทั้ง 4 ได้แก่ กษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี และสมณะ กระทั่งสามารถเข้าหาและวางตัวในอิริยาบถต่างๆ กับกลุ่มบุคคล นั้นๆ ได้อย่างเหมาะสม คำว่า “รู้จักกลุ่มบุคคล” ในที่นี้ หมายถึงรู้จักจริต อัธยาศัย ระเบียบ ขนบธรรมเนียม ประเพณี หรือวัฒนธรรมของกลุ่มบุคคลนั้นๆ 8.3 ความสำคัญของการเป็นปริสัญญ การเป็นปริสัญญู คือ การเป็นผู้รู้จักเข้าหาและวางตัวกับบุคคลทั้ง 4 กลุ่มได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม แต่ละกลุ่มควรเข้าไปหาอย่างไร ยืนอย่างไร ทำอย่างไร นั่งอย่างไร นิ่งอย่างไร ตามจริต อัธยาศัย ขนบธรรมเนียมประเพณีของแต่ละกลุ่ม ซึ่งการรู้จักเข้าหาและการวางตัวที่เหมาะสมจะทำให้เกิดการยอมรับ เลื่อมใสศรัทธาต่อกลุ่มบุคคลนั้นๆ อันจะมีผลต่อการทำหน้าที่กัลยาณมิตรหรือการเทศน์สอนและเผยแผ่ พระพุทธศาสนา หากพระภิกษุเพียงแต่รู้ธรรมะมามาก สามารถเทศน์สอนและถ่ายทอดธรรมะได้เป็นอย่างดี แต่ ไม่รู้จักการวางตัว ไม่รู้จักมารยาทในการเข้าหา ก็อาจทำให้ไม่เป็นที่ยอมรับเลื่อมใสศรัทธา หรืออาจถูก ระแวงสงสัย เพราะการจะเป็นกัลยาณมิตรให้ผู้อื่นได้ พระภิกษุต้องอาศัยการเทศน์ให้บุคคลต่างๆ ฟัง จึงมี ความจำเป็นอย่างยิ่งที่พระภิกษุต้องรู้จักกลุ่มบุคคล เพื่อจะได้เข้าหาและวางตัวได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เป็น ที่ยอมรับของทุกกลุ่มบุคคล ซึ่งจะเป็นต้นทางทำให้พระภิกษุมีโอกาสได้แสดงธรรมต่อไป เรียบเรียงจาก พจนานุกรม มคธ ไทย, ป.หลงสมบุญ, พันตรี, สำนักเรียนวัดปากน้ำ (กรุงเทพฯ : อากรการพิมพ์2540) และ ธรรมานุกร สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย หน้าวัดบวรนิเวศวิหาร พระนคร 2527). บท ที่ 8 ขั้ น ต อ น ที่ 6 ปริสัญญู DOU 169
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More