ข้อความต้นฉบับในหน้า
2) มีปรกติเห็นภัยในโทษแม้เพียงเล็กน้อย
“โทษ” ในที่นี้ หมายถึง ความชั่วหรือความผิด ขึ้นชื่อว่าโทษแล้ว แม้มีอยู่น้อยนิดเท่าใดก็ย่อมเป็น
โทษไม่มีทางเป็นคุณไปได้ เหมือนพิษงูแม้เพียงเล็กน้อย ก็ทำอันตรายถึงชีวิตได้ ดังตัวอย่างการดูเบาในโทษแม้
เพียงเล็กน้อยของพญานาค อดีตพระภิกษุรูปหนึ่ง ดังนี้
เรื่องของเอรกปัตตนาคราช
ในสมัยพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า พญานาคนั้นเกิดเป็นภิกษุหนุ่ม ขึ้นเรือไปในแม่น้ำคงคา ใช้มือ
จับใบตะไคร้น้ำกอหนึ่ง เมื่อเรือแล่นไปก็ไม่ปล่อย จนใบตะไคร้น้ำขาดติดมือมา
ภิกษุหนุ่มนั้นไม่แสดงอาบัติ เพราะคิดว่า “นี้เป็นโทษเพียงเล็กน้อย” ภิกษุหนุ่มนั้นบำเพ็ญสมณธรรมใน
ป่าจนตลอดอายุ 2 หมื่นปี ในขณะมรณภาพ เป็นเหมือนมีใบตะไคร้น้ำผูกคอ อยากจะแสดงอาบัติ แต่ไม่ได้
พบพระภิกษุรูปอื่น เกิดความเดือดร้อนใจขึ้นว่า “เรามีศีลไม่บริสุทธิ์” เมื่อมรณภาพแล้ว จึงไปบังเกิดเป็น
พญานาค
ชื่อว่าเอรกปัตตะ
พญานาคนั้น ภายหลังมีโอกาสฟังธรรมจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา แต่ไม่สามารถจะบรรลุ
ธรรมได้ เพราะตนเองเกิดอยู่ในกำเนิดสัตว์เดรัจฉาน จึงเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย เพราะกว่าที่พระสัมมา
สัมพุทธเจ้าจะมาบังเกิดได้นั้นยากเหลือเกิน และโอกาสที่จะได้ฟังธรรมจากพระพุทธองค์ก็เป็นเรื่องยาก
ทั้งหมดนี้ เกิดขึ้นเพราะการดูเบาในโทษแม้เพียงเล็กน้อยเท่านั้นเอง
ดังนั้น พระภิกษุในพระพุทธศาสนา ที่หวังจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ จึงต้องพยายาม
ละเว้นความชั่วทุกอย่าง ด้วยการระมัดระวังไม่ให้ประพฤติผิดศีลอย่างเด็ดขาด แต่หากประพฤติผิดพลาด
แม้เพียงเล็กน้อยโดยมิได้เจตนา ก็ต้องตระหนักว่า เราได้ก่อบาปอกุศลขึ้นมาแล้ว ต้องรีบระมัดระวัง แก้ไข
ปรับปรุง หรือหลีกเลี่ยงไม่ทำ เพื่อที่บาปอกุศลนั้นจะได้ไม่เกิดขึ้นมาอีก เพราะบาปแม้เพียงเล็กน้อย ก็ย่อม
ให้ผลเป็นความเดือดร้อนและทุกข์ใจ ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า
“บุคคลไม่ควรดูหมิ่นบาปว่า “บาปมีประมาณน้อยจักไม่มาถึง แม้หม้อน้ำ
ยังเต็มด้วยหยาดน้ำที่ตกลง (ทีละหยาดๆ) ได้ฉันใด ชนพาลเมื่อสั่งสมบาป
แม้ทีละน้อยๆ ย่อมเต็มด้วยบาปได้ ฉันนั้น”
เรียบเรียงจาก “เรื่องนาคราชชื่อเอรกปัตตะ”, อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท, มก. เล่ม 42 หน้า 323
เรื่องภิกษุไม่ถนอมบริขาร, อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท มก. เล่ม 42 หน้า 25
28 DOU แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา