ชฎิล 3 พี่น้องและการเผยแผ่พระพุทธศาสนา SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา หน้า 185
หน้าที่ 185 / 252

สรุปเนื้อหา

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้หยั่งรากในแคว้นมคธ โดยเริ่มต้นจากการโปรดชฎิล 3 พี่น้อง ซึ่งนำไปสู่การบรรลุธรรมของลูกศิษย์กว่า 1,000 คน หลังจากบวช พระองค์นำพวกเขาเข้าสู่เมืองราชคฤห์ ส่งผลให้ประชาชนหันมาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณีของบุคคลทั้ง 4 กลุ่ม มีความคิดเห็นแตกต่างกันในเรื่องความปรารถนาและเป้าหมายตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ในขัตติยาธิปปายสูตร ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความต้องการและรสนิยมที่หลากหลายของกลุ่มคนในสังคม

หัวข้อประเด็น

-การเผยแผ่พระพุทธศาสนา
-ชฎิล 3 พี่น้อง
-พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
-การบรรลุธรรม
-ขนบธรรมเนียมประเพณี

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ก่อนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะทรงเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้หยั่งรากลงลึก และเป็นปึกแผ่นในแคว้น มคธ บุคคลกลุ่มแรกที่พระองค์นึกถึงก็คือ ชฎิล 3 พี่น้อง เพราะเมื่อชฎิลผู้เป็นเจ้าลัทธิบูชาไฟ มีลูกศิษย์มากมาย เป็นผู้ที่ได้รับความเคารพนับถือจากทุกกลุ่มมีความเลื่อมใสศรัทธาในพระรัตนตรัยแล้วก็จะทำให้เหล่ากษัตริย์ ได้แก่ พระเจ้าพิมพิสาร พราหมณ์ คหบดี ชาวเมืองเกิดความเลื่อมใสตามโดยง่ายไปด้วย พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเริ่มต้นด้วยการเสด็จไปโปรดชฎิลอุรุเวลากัสสปะผู้เป็นพี่ใหญ่มีลูกศิษย์บริวาร 500 คน เมื่อผู้พี่เลื่อมใสศรัทธาแล้ว ชฎิลผู้น้องถัดมาคือ นทีกัสสปะ มีลูกศิษย์ 300 คน และคยากัสสปะ มี ลูกศิษย์ 200 คน ก็เลื่อมใสตามชฎิลผู้พี่ได้อย่างง่ายดาย จนในที่สุดทั้งหมด 1,003 คน ก็บรรลุธรรมเป็น พระอรหันต์ได้ทั้งหมด เมื่อบวชแล้วก็ตามเสด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเข้าสู่เมืองราชคฤห์เป็นเหตุให้ประชาชนที่ เคยเลื่อมใสในชฎิล หันมาศรัทธาในพระพุทธศาสนาตามไปด้วย 8.5 ขนบธรรมเนียมประเพณีของบุคคลทั้ง 4 กลุ่ม ขนบธรรมเนียมประเพณีและความถือดี เนื่องจากกลุ่มคนทั้ง 4 มีความคิดเห็นในด้านต่างๆ แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นความปรารถนา รสนิยม ความมั่นใจความต้องการ รวมทั้งเป้าหมายก็ต่างกัน ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสถึงความแตกต่างกันของ กลุ่มบุคคลต่างๆ ไว้ใน ขัตติยาธิปปายสูตร ดังนี้ “กษัตริย์ทั้งหลาย ย่อมประสงค์โภคทรัพย์ นิยมปัญญา ต้องการในการได้แผ่นดิน มีความเป็นใหญ่เป็นที่สุด มั่นใจในกำลังทหาร พราหมณ์ทั้งหลาย ย่อมประสงค์โภคทรัพย์ นิยมปัญญา มั่นใจในมนต์ ต้องการ การบูชายัญ มีพรหมโลกเป็นที่สุด คฤหบดีทั้งหลาย ย่อมประสงค์โภคทรัพย์ นิยมปัญญา มั่นใจในศิลปะ ต้องการ การงาน มีการงานที่สำเร็จแล้วเป็นที่สุด... สมณะทั้งหลาย ย่อมประสงค์ขันติโสรัจจะ นิยมปัญญา มั่นใจในศีล ต้องการความไม่มีห่วงใย มีพระนิพพานเป็นที่สุด” ขัตติยาธิปปายสูตร, อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต, มก. เล่ม 36 ข้อ 323 หน้า 687. 174 DOU แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More