ความสำคัญของการใกล้ชิดครูบาอาจารย์ SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา หน้า 90
หน้าที่ 90 / 252

สรุปเนื้อหา

การใกล้ชิดกับพระอุปัชฌาย์หรือครูบาอาจารย์ที่ดีเป็นสิ่งสำคัญสำหรับพระภิกษุ ในการพัฒนาคุณธรรมและการเข้าใจธรรมะอย่างลึกซึ้ง การได้ฟังธรรมและสอบถามความรู้จะช่วยให้เขาเข้าถึงปฏิบัติได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งยังสามารถแบบอย่างการใช้ชีวิต การบริหารเวลา และกิจวัตรประจำวันที่ถูกต้องจากครูบาอาจารย์ ซึ่งช่วยเป็นกำลังใจและสนับสนุนกระบวนการฝึกฝนของพระภิกษุ โดยพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังตรัสถึงความสำคัญของการใกล้ชิดกับศาสดาในมุมมองที่เป็นการขัดเกลากิเลสและช่วยให้เกิดความรู้ยิ่ง นอกจากนี้ ยังมีแง่มุมของการเรียนรู้ที่จะทำให้เกิดความเบื่อหน่ายในกิเลส, สงบซึ่งนำไปสู่นิพพาน เป็นการเรียนรู้ที่สามารถรวบรวมพลังใจในการฝึกฝนกรรมฐาน เพื่อให้พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องโดยไม่ท้อถอย.

หัวข้อประเด็น

-การพัฒนาคุณธรรม
-การฟังธรรม
-การฝึกปฏิบัติ
-การเป็นแบบอย่าง
-การให้กำลังใจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

การที่มีโอกาสใกล้ชิดพระอุปัชฌาย์หรือครูบาอาจารย์ที่ดีจะทำให้พระภิกษุมีโอกาสพัฒนาคุณธรรม ให้ก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้นอกจากจะได้ฟังธรรมและสอบถามให้เกิดความรู้ความเข้าใจแล้ว ยังจะ ได้อาศัยท่านเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตไปด้วยในตัว เช่นได้แบบอย่างในการบริหารเวลา ข้อวัตรปฏิบัติ ในการทำกิจวัตร กิจกรรม หรือศีลาจารวัตรที่งดงาม ซึ่งจะเป็นการเพาะนิสัยดีๆ ให้เกิดขึ้น เพราะการได้อยู่ ใกล้ชิด มีความสำคัญกับชีวิตการฝึกตัวของพระภิกษุอย่างมาก เพราะนอกจากจะทำให้ได้อาศัยท่านเป็น แบบอย่างแล้ว ยังได้ท่านเป็นผู้ให้กำลังใจ การฝึกฝนอบรมตนเองก็จะพัฒนาไปได้อย่างรวดเร็ว สมดังที่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน มหาสุญญตสูตร ดังนี้ “ดูก่อนอานนท์ สาวกไม่ควรจะติดตามศาสดาเพียงเพื่อฟัง สุตตะ เคยยะ และไวยากรณ์เลย นั่นเพราะเหตุไร เพราะธรรมทั้งหลายอันพวก เธอสดับแล้ว ทรงจำแล้ว คล่องปากแล้ว เพ่งตามด้วยใจแล้ว แทงตลอด ดีแล้วด้วยความเห็น เป็นเวลานาน ดูก่อนอานนท์ แต่สาวกควรจะใกล้ชิดติดตามศาสดา เพื่อฟังเรื่องราวเห็น ปานฉะนี้ ซึ่งเป็นเรื่องขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง เป็นที่สบายแก่การพิจารณา ทางใจ เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายส่วนเดียว เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อ ดับกิเลส เพื่อสงบกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน คือ เรื่องมักน้อย เรื่องยินดีของของตน เรื่องความสงัด เรื่องไม่คลุกคลี เรื่อง ปรารภความเพียร เรื่องศีล เรื่องสมาธิ เรื่องปัญญา เรื่องวิมุตติ เรื่องวิมุตติ ญาณทัสสนะ” จากพุทธพจน์นี้ แสดงให้เห็นว่า การอยู่ใกล้ชิดกับครูบาอาจารย์ ย่อมจะทำให้ได้เห็นแบบอย่าง ของการปฏิบัติที่ถูกต้อง สำหรับพระภิกษุที่ศึกษาเรียนรู้ธรรมะมามาก ก็จะเป็นการเปิดโอกาสให้ตนเอง เข้าใจภาคปฏิบัติได้มากขึ้น อีกทั้งเมื่อฝึกปฏิบัติไป ก็มีโอกาสได้ฟังธรรมที่ท่านจะนำมาขยายความให้เราเข้าใจ ได้ละเอียดลึกซึ้งกว้างขวางยิ่งขึ้น รวมทั้งยังได้ท่านช่วยเป็นกำลังใจ ประคับประคอง คอยตอกย้ำพร่ำสอน ให้เราได้ฝึกฝนอบรมตนเองให้ยิ่งๆ ขึ้นไป ไม่ท้อถอยหมดกำลังใจเลิกไปเสียกลางคัน มหาสุญญตสูตร, มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์, มก. เล่ม 23 ข้อ 351 หน้า 21 บทที่ 4 ขั้ น ต อ น ที่ 2 อัตถั ญ ญ DOU 79
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More