ข้อความต้นฉบับในหน้า
โอหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ก็แลครั้นฟังแล้ว จะพึงรู้ทั่ว
ถึงธรรมก็แลครั้นรู้ทั่วถึงธรรมแล้ว จะพึงปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น อาศัย
ความที่แห่งพระธรรมเป็นธรรมอันดี จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น อาศัย
ความกรุณา จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่นอาศัยความเอ็นดู จึงแสดงธรรม
แก่ชนเหล่าอื่น อาศัยความอนุเคราะห์จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น ด้วย
ประการฉะนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเทศนาของภิกษุเห็นปานนี้แล บริสุทธิ์” 1
หมายความว่า เมื่อแสดงธรรมแล้ว หากใจของพระภิกษุรูปนั้นคิดว่า ธรรมะที่ตนแสดงนั้นเป็น
ธรรมะของตัวเอง เป็นคำพูดของตน อยากให้คนที่ได้ฟังธรรมมาเคารพเลื่อมใสตน ชื่อว่า การแสดงธรรม
ไม่บริสุทธิ์
แต่หากคิดว่า ธรรมะนี้เป็นของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อแสดงธรรมก็มีความปรารถนาในใจ
อยากให้ผู้ฟังได้ปฏิบัติตามอย่างที่พระพุทธองค์ตรัสแนะนำ จนเกิดผลดีกับคนฟังเอง ชื่อว่า การแสดง
ธรรมบริสุทธิ์
9.6.2 อาศัยการประเมินผลจากผู้ฟัง มี 2 ลักษณะ คือ
1) เป็นลายลักษณ์อักษร ผ่านทางแบบสอบถามที่กล่าวถึงผู้แสดงธรรม เช่น ถามถึงท่าทาง การ
วางตัวขณะแสดงธรรมว่าเป็นอย่างไร สาระหรือธรรมะที่นำมาแสดงนั้น สามารถอธิบายจนผู้ฟังเข้าใจได้
หรือไม่ ใช้เวลานานเกินไปหรือไม่ เป็นต้น ทำให้ได้รับข้อมูลที่ชัดเจน สามารถนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ต่อไป
อีกได้ ทั้งเพื่อนำมาประเมิน ทั้งเพื่อนำมาปรับปรุงตัวให้การแสดงธรรมมีประสิทธิภาพดีขึ้น
2) ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ผ่านทางการได้ยิน ได้ฟัง ทั้งการติในสิ่งที่ไม่เหมาะสม ทั้งการชมในสิ่ง
ที่เหมาะสม แบบปากต่อปาก เช่น พระรูปนั้นเทศน์ดี ไม่เคยได้ฟังธรรมะแบบนี้มาก่อน หรือรูปโน้นกิริยาดู
ไม่เรียบร้อยเลย นั่งสั่นขา เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้ สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อปรับปรุงตัวเองได้เช่นกัน
แต่หากไม่ได้จดจำ หรือไม่มีเวลาได้ทบทวน หรือประเมินตัวเองบ่อยนัก ก็อาจใช้ประโยชน์ได้น้อย เนื่องจาก
ไม่ได้เก็บข้อมูลไว้เป็นเอกสาร อีกทั้งมีโอกาสที่ผลการประเมินนั้นอาจไม่ตรงกับสิ่งที่อยากทราบ เช่น คนฟังติ
ชมแต่เรื่องวิธีการในการแสดงธรรม แต่ไม่ได้กล่าวถึงเนื้อหาสาระของธรรมะที่ได้แสดงฟังไป ผู้แสดงธรรมจึง
อาจได้รับผลประเมินเพียงบางด้านเท่านั้น
จันทูปมสูตร, สังยุตตนิกาย นิทานวรรค, มก. เล่ม 26 ข้อ 472 หน้า 550
บทที่ 9 ขั้ น ต อ น ที่ 7 บุคคล ปโร ปรัญญู DOU 209