อาจาระที่ไม่ดีและการปฏิบัติของพระภิกษุ SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา หน้า 38
หน้าที่ 38 / 252

สรุปเนื้อหา

บทความนี้สำรวจแนวคิดเกี่ยวกับอาจาระที่ไม่ดีซึ่งรวมถึงการล่วงละเมิดทางกายและวาจา รวมถึงการกล่าวถึงโคจรและอโคจร ซึ่งเป็นแนวทางและสถานที่ที่พระภิกษุควรหลีกเลี่ยงเพื่อการปฏิบัติตนที่ดี หากมีกิจนิมนต์ก็สามารถไปได้โดยไม่ขัดต่อพระธรรมวินัย.

หัวข้อประเด็น

-อาจาระที่ไม่ดี
-โคจรและอโคจร
-การดำเนินชีวิตของพระภิกษุ
-พระธรรมวินัย
-พฤติกรรมที่เหมาะสมของนักบวช

ข้อความต้นฉบับในหน้า

อาจาระที่ไม่ดี คือ พฤติกรรมที่ตรงกันข้ามกับอาจาระที่ดี หมายถึง การล่วงละเมิดทางกาย หรือ ทางวาจา หรือทั้งทางกายและทางวาจา นั่นคือ การล่วงละเมิดในศีลทั้งหลาย รวมถึงกิริยาอันไม่สมควรต่างๆ เช่น นั่งคลุมศีรษะ นั่งบังหน้าพระเถระในที่ประชุม การแกว่งแขนขณะพูดกับพระเถระ การไม่ทำความ เคารพพระเถระ หรือพระภิกษุผู้มีพรรษาสูงกว่า รวมทั้งการเลี้ยงชีวิตตนด้วยมิจฉาอาชีวะ เช่น การพูดประจบ สอพลอ หรือให้สิ่งของเพื่อให้เขารัก การอาสารับใช้ทำกิจให้ฆราวาสโดยหวังอามิสรางวัล กิริยาเหล่านี้ถือว่า เป็นการประพฤติทุศีล จัดเป็นอาจาระที่ไม่ดี คำว่า “โคจร” หมายถึง บุคคลหรือสถานที่ซึ่งพระภิกษุควรไปมาหาสู่ หรือสิ่งที่พระภิกษุควรเข้าไป เกี่ยวข้อง เช่น สถานที่หรือบุคคลที่เอื้อประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้า หรือการประพฤติพรหมจรรย์ของ พระภิกษุโดยตรง เช่น การเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์อาจารย์เพื่อขอเรียนธรรมะ เป็นต้น ตรงกันข้ามกับโคจร คือ อโคจร หมายถึง บุคคลและสถานที่ซึ่งพระภิกษุไม่ควรไปมาหาสู่ มี 3 ลักษณะ' ได้แก่ ลักษณะที่ 1 หมายถึง การไปมาหาสู่บุคคลและสถานที่ 6 จำพวก คือ หญิงโสเภณี หญิงหม้าย สาวแก่ กะเทย ภิกษุณี และร้านสุรา หรือแหล่งอบายมุข ยาเสพติดทั้งหลาย ลักษณะที่ 2 หมายถึง การคลุกคลีกับบุคคลผู้ไม่สมควรคลุกคลีด้วย เช่น เดียรถีย์” สาวกของ เดียรถีย์ เป็นต้น ลักษณะที่ 3 หมายถึง การคบหาตระกูลที่ไม่สมควรคบหา เช่น ตระกูลที่ไม่ศรัทธา ไม่มีความเลื่อมใส ชอบด่าว่าพระรัตนตรัย เป็นต้น ในปัจจุบันนี้ อโคจรมีอยู่มากเกินกว่าที่กล่าวมา เช่น สถานเริงรมย์ ศูนย์การค้าต่างๆ เป็นต้น พระ ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรจึงไม่ควรไป เพราะมีโอกาสทำให้ใจไปเกี่ยวข้องในกามคุณได้ง่ายขึ้น นอกจากนั้น ยังชื่อว่าทำตนไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสศรัทธาด้วย อย่างไรก็ตาม หากมีกิจนิมนต์ด้วยเหตุอันสมควรต้องไป พระภิกษุก็สามารถไปปฏิบัติหน้าที่ใน ฐานะนักบวชได้ แต่ต้องไม่ไปด้วยเรื่องอื่นนอกจากกิจนิมนต์ เช่น ไม่สนทนาปราศรัยคล้ายกับผู้ใกล้ชิดสนิท สนมกันเกินไป เพราะอาจจะถูกเข้าใจผิดได้ว่า มีความประพฤติไม่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย เป็นผู้น่ารังเกียจ และนำความเสื่อมเสียมาสู่ตนเอง เป็นต้น และโคจร” หากพระภิกษุฝึกฝนตนเองตามที่กล่าวมาแล้วอย่างดีนี้จึงจะได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ “ถึงพร้อมด้วยอาจาระ สารีปุตตสุตตนิทเทส, อรรถกถา ขุททกนิกาย มหานิทเทส, มก. เล่ม 66 หน้า 652 นักบวชภายนอกพระพุทธศาสนา บทที่ 2 คณกโมคคัลลานสูตร DOU 27
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More