การประมาณในการรับของพระอานนท์และภิกษุณีถุลลนันทา SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา หน้า 147
หน้าที่ 147 / 252

สรุปเนื้อหา

ข้อความนี้สรุปการรับผ้าของพระอานนท์ที่ได้รับผ้าจีวรถึง 1,000 ผืนในวันเดียว เป็นการแสดงให้เห็นถึงการประมาณในการรับที่มีประโยชน์สูงสุดต่อพระพุทธศาสนา ทั้งยังเน้นถึงกรณีตัวอย่างของภิกษุณีถุลลนันทาที่ไม่รู้จักประมาณในการรับกระเทียม ทำให้เกิดผลเสียต่อทั้งตัวเองและความเลื่อมใสของชาวพุทธ การรู้จักปริมาณและคุณค่าของสิ่งที่รับจึงสำคัญยิ่งต่อบุคคลและชุมชนในศาสนา.

หัวข้อประเด็น

-การประมาณในการรับ
-พระอานนท์
-ภิกษุณีถุลลนันทา
-บทเรียนจากศาสนา
-พระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เมื่อได้รับคำตอบแล้ว พระเจ้าอุเทนทรงชื่นชมในการรับจีวรด้วยความแยบคายของพระอานนท์ ทรง เกิดความเลื่อมใส จึงถวายผ้าจีวรอีก 500 ผืนให้แก่พระอานนท์ ในคราวนั้น จีวร 1,000 ผืน ได้เกิดขึ้นแก่ พระอานนท์ในวันเดียว จากตัวอย่างการรับผ้าของพระอานนท์ นับเป็นตัวอย่างที่ดีในการรู้จักประมาณในการรับ เราจะเห็น ว่าการประมาณ ไม่ได้หมายความว่าต้องรับให้น้อยที่สุดเท่านั้น แต่หมายถึงเมื่อรับมาแล้ว ปัจจัยนั้นก่อให้เกิด ประโยชน์สูงสุดกับพระพุทธศาสนามากกว่า ดังเช่นตัวอย่างที่ยกมา จะพบผลดีที่เกิดจากการรับผ้าของ พระอานนท์ดังนี้ 1. เป็นประโยชน์กับตัวพระอานนท์เอง ที่จะมีโอกาสได้บุญจากการถวายผ้าแก่เพื่อนสหธรรมิกที่ ขาดแคลน 2. เป็นประโยชน์กับหมู่สงฆ์จำนวนมาก ที่ได้อาศัยผ้าที่พระอานนท์นำมาถวาย 3. เป็นประโยชน์กับสาธุชน คือพระเจ้าอุเทนและพระมเหสี ที่มีโอกาสได้สั่งสมบุญ 4. เป็นประโยชน์กับความเจริญของพระพุทธศาสนา เพราะมีพระภิกษุที่ฝึกฝนอบรมตนเองมาดี เป็น ที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสศรัทธาอย่างพระอานนท์ 2. เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา สมัยนั้น อุบาสกคนหนึ่งได้ปวารณากระเทียมไว้แก่ภิกษุณีสงฆ์ว่า ภิกษุณีรูปใดต้องการกระเทียม กระผมขอปวารณา และยังได้สั่งคนเฝ้าไร่ไว้ด้วยว่า ถ้าภิกษุณีทั้งหลายมาขอ จงถวายท่านไปรูปละ 2-3 กำ เวลานั้น ในเมืองสาวัตถีกำลังมีงานมหรสพ กระเทียมที่เขานำมาขายหมดพอดี ภิกษุณีทั้งหลายจึง เข้าไปหาอุบาสกคนนั้น แล้วกล่าวว่าพวกตนต้องการกระเทียม อุบาสกกล่าวว่า ไม่มี กระเทียมเท่าที่เขานำมาหมดแล้ว ขอให้ไปเอาที่ไร่ ภิกษุณีถุลลนันทาจึงไปที่ไร่ ขนกระเทียมไปมาก ไม่รู้จักประมาณ คนเฝ้าไร่จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ทำไมภิกษุณีทั้งหลายไปถึงไร่แล้วจึงไม่รู้จักประมาณ ขนกระเทียมไปมากมาย จากเรื่องนี้ เป็นตัวอย่างที่ไม่ดีของผู้ที่ไม่รู้จักประมาณในการรับ ทำให้เกิดผลเสีย คือ นอกจากตนเอง จะถูกติเตียนแล้ว ยังทำให้สาธุชนเสื่อมความศรัทธาอีก ดังนั้น การประมาณในการรับ จึงมีความสำคัญมาก เพราะนอกจากจะส่งผลกระทบต่อตนเองแล้ว ยังส่งผลไปถึงหมู่คณะ สาธุชน และพระพุทธศาสนาโดยรวมด้วย เรื่องภิกษุณีกุลลนันทา, พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์, มก. เล่ม 5 หน้า 176 136 DOU แ ม่ บ ท การฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More