ความสำคัญของกาลทั้ง 4 ในการฝึกอบรม SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา หน้า 163
หน้าที่ 163 / 252

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาอธิบายถึงความสำคัญของการรู้จักกาลทั้ง 4 เพื่อการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา การเรียนรู้พระธรรมวินัย การสอบถามหัวข้อธรรมที่สงสัย การประกอบความเพียร และการหลีกออกเร้นอย่างสมบูรณ์ โดยเน้นที่การเพิ่มพูนความรู้ทางธรรมและความเป็นธัมมัญญู เพื่อกันความเข้าใจผิด และสร้างแนวทางในการฝึกฝนอบรมตนเองอย่างถูกต้อง โดยแบ่งผู้ถามเป็นสองกลุ่ม กลุ่มที่เพิ่งเริ่มต้นและกลุ่มที่มีความเข้าใจในธรรมะแต่ต้องการคำแนะนำเพิ่มเติม

หัวข้อประเด็น

- ความสำคัญของการรู้จักกาล
- การเรียนรู้พระธรรมวินัย
- การสอบถามในพระพุทธศาสนา
- การประกอบความเพียร
- วิธีการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

7.5.1 ความสำคัญของกาลทั้ง 4 การเป็นผู้รู้จักกาล หมายถึง การรู้จักเวลาอันสมควรในการทำกิจทั้ง 4 ประการ คือ การเรียน การสอบถาม การประกอบความเพียร และการหลีกออกเร้นให้สมบูรณ์ 1) การเรียน หมายถึงการศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย หรือคำสอนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัส สอนไว้ ซึ่งพระภิกษุต้องใส่ใจที่จะเรียนรู้ ทั้งนี้เพื่อที่จะได้ทราบว่าพระพุทธองค์ทรงสอนอะไร เพื่อจะได้นำ มาเป็นกรอบให้กับตนเองปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ดังนั้นในการใช้เวลาไปเพื่อการเรียนในข้อนี้จึงมีวัตถุประสงค์ อยู่ที่การเพิ่มพูนความรู้ทางธรรม หรือเพิ่มพูนความเป็น “ธัมมัญญู” ของตนเองให้สมบูรณ์ 2) การสอบถาม หมายถึงการซักถามหัวข้อธรรมที่ตนสงสัย กับครูบาอาจารย์หรือผู้รู้ ซึ่ง อาจเป็นหัวข้อธรรมที่ตนไม่เข้าใจจริงๆ - พอเข้าใจอยู่บ้าง แต่ไม่มั่นใจว่าจะถูกต้องหรือไม่ - เข้าใจแล้ว แต่ต้องการให้ท่านขยายความให้ลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไป ต้องการให้ท่านยืนยันในสิ่งที่ตนเข้าใจว่าถูกต้องจริงๆ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากความจริงไป และเพื่อส่องให้ ตนเองเห็นแนวทางที่จะนำไปฝึกฝนอบรมตนเองได้อย่างถูกต้อง ซึ่งในการสอบถามให้บรรลุผลนี้ ต้องมี องค์ประกอบสำคัญอย่างน้อย 2 ส่วน ดังนี้ 1. “ผู้ถาม” ในที่นี้หมายเอาบุคคล 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ผู้ที่เพิ่งฝึกอบรมใหม่ หมายถึงผู้ที่บวชใหม่ หรือผู้ที่เพิ่งเริ่มต้นในการศึกษา และเริ่มนำ ความรู้ที่ได้ศึกษามาฝึกหัดปฏิบัติ เพื่อขัดเกลาตนเอง ซึ่งในที่นี้ แม้จะเป็นพระภิกษุที่บวชมานาน แต่ยัง ไม่เคยฝึกปฏิบัติตามขั้นตอนในคณกโมคคัลลานสูตรอย่างจริงจัง หรืออีกนัยหนึ่งคือยังไม่ได้เข้มงวดกวดขัน ตนเองในเรื่อง ศีล สมาธิ ปัญญา มาเท่าที่ควรจะเป็น ก็ให้ถือว่าอยู่ในกลุ่มผู้อบรมใหม่เช่นกัน กลุ่มที่ 2 ผู้ที่ได้ฝึกปฏิบัติจนเห็นผลมาบ้างแล้ว ในกลุ่มนี้ มักจะมีความเข้าใจในธรรมะมา ระดับ หนึ่ง แต่ถึงอย่างไร ก็ยังไม่สามารถก้าวล่วงความสงสัยในระหว่างการฝึกไปได้เหมือนกัน โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในการฝึกจิต หรือการเจริญสมาธิภาวนา หากยังไม่ได้บรรลุมรรคผลอันใด ก็ยังคงต้องการ ครูบาอาจารย์ หรือท่านผู้รู้ที่จะช่วยแนะนำ และประคับประคองให้การฝึกใจของตนก้าวหน้ายิ่งขึ้นไป 152 DOU แ ม่ บ ท การฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More