ข้อความต้นฉบับในหน้า
บทที่ 8
ขั้นตอนที่ 6 ปริสัญญ
8.1 การเป็นปริสัญญ
จากบทที่ผ่านมา เมื่อพระภิกษุได้ศึกษาธรรมะ จนรู้ทั่วถึงธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เกิด
ความเข้าใจ ในธรรมะอย่างลึกซึ้ง นำมาฝึกฝนอบรมตนเองจนเกิดเป็นคุณธรรม และสามารถประเมิน
ความก้าวหน้าของการปฏิบัติ และคุณธรรมในตนเองได้ รู้จักประมาณในการรับปัจจัย 4 มาใช้ในการ
ฝึกฝนอบรมตนเอง รู้จักบริหารเวลาในแต่ละวัน เพื่อทำกิจที่สำคัญที่สุด 4 ประการ ย่อมเรียกพระภิกษุนั้น
ได้ว่าเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู มัตตัญญู และกาลัญญู และเมื่อฝึกทั้ง 5 ขั้นตอนนั้นได้ ก็ยังกล่าวได้
อีกว่า ท่านสามารถเป็นกัลยาณมิตรให้กับตนเองได้อย่างสมบูรณ์
ด้วยวิธีการ 5 ขั้นตอนแรกของธัมมัญญสูตร ก็นับว่าเพียงพอสำหรับใช้ฝึกแต่ละขั้นตอนใน
คุณกโมคคัลลานสูตรได้อย่างสมบูรณ์ หมายความว่า การฝึกในขั้นตอนที่ 1 คือ การสำรวมระวังในพระ
ปาฏิโมกข์ให้สำเร็จได้ พระภิกษุอาศัยฝึกตามวิธีการใน 5 ขั้นตอนแรกของธัมมัญญสูตรก็เพียงพอ ส่วนการฝึก
ในขั้นตอนที่ 2 คือ อินทรียสังวร ก็ฝึกด้วยวิธีการใน 5 ขั้นตอนของธัมมัญญสูตรก็เพียงพออีกเช่นกัน และ
ในขั้นตอนอื่นๆ นอกจากนั้นก็ในทำนองเดียวกันนั่นเอง
เมื่อพระภิกษุฝึกฝนอบรมตนเองตามวิธีการดังกล่าวจนสามารถเป็นกัลยาณมิตรให้กับตนเองได้แล้ว
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะทรงสอนในขั้นตอนต่อไป เพื่อให้พระภิกษุนำสิ่งที่ตนเองฝึกได้ ไปแนะนำสั่งสอน
ให้ชาวโลกได้รับประโยชน์ด้วย
ดังนั้น เมื่อพระภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู มัตตัญญู กาลัญญูแล้ว จึงต้องฝึกในขั้นตอน
ที่ 6 คือ “ปริสัญญ” ต่อไป ตามวิธีการที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ ดังนี้
“ก็ภิกษุเป็นปริสัญญอย่างไรภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักบริษัทว่านี้บริษัท
กษัตริย์ นี้บริษัทพราหมณ์ นี้บริษัทคฤหบดี นี้บริษัทสมณะ ในบริษัทนั้น เรา
พึงเข้าไปหาอย่างนี้ จึงยืนอย่างนี้ จึงทำอย่างนี้ จึงนั่งอย่างนี้ จึงนิ่งอย่างนี้
หากภิกษุไม่รู้จักบริษัทว่านี้บริษัทกษัตริย์...จึงนิ่งอย่างนี้ เราก็ไม่พึงเรียกว่า
เป็นปริสัญญู แต่เพราะภิกษุรู้จักบริษัทว่า นี้บริษัทกษัตริย์...จึงนิ่งอย่างนี้
168 DOU แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา