อัตถัญญูกับการสำรวมในพระปาฏิโมกข์ SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา หน้า 234
หน้าที่ 234 / 252

สรุปเนื้อหา

ภายหลังจากที่มีความรู้เรื่องการสำรวมในพระปาฏิโมกข์แล้ว ต้องทำความเข้าใจเพื่อใช้เป็นบทฝึกฝน มีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ ความรู้, การปฏิบัติ, และการมีครู เป็นที่สามารถแนะนำและแก้ไขปัญหาในการฝึก อุปมาเหมือนการเดินทางในป่าที่มีผู้ชำนาญคอยนำทาง, บทเรียนนี้ยกตัวอย่างเรื่องของอนุปุพพเศรษฐีบุตรเพื่อเสริมความเข้าใจในการทำกิจตามพระธรรมของพระพุทธศาสนา

หัวข้อประเด็น

-การนำความรู้ไปสู่การปฏิบัติ
-ความสำคัญของครูในพระพุทธศาสนา
-ตัวอย่างการฝึกฝนในพระพุทธศาสนา
-ความเข้าใจในพระวินัย
-การพัฒนาคุณธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

10.2.2 อัตถัญญูกับการสำรวมในพระปาฏิโมกข์ ภายหลังจากที่มีความรู้เรื่องการสำรวมในพระปาฏิโมกข์แล้ว ขั้นตอนต่อไป จึงเป็นเรื่องของการ ทำความเข้าใจ เพื่อที่จะสามารถนำความรู้นี้มาใช้เป็นบทฝึกฝนให้กับตัวเอง อาจเรียกว่า สามารถนำความ รู้ในภาคทฤษฎีมาสู่การใช้งานจริงในภาคปฏิบัติก็ได้ ขั้นตอนนี้จึงมีความยากยิ่งขึ้น เพราะไม่เพียงแต่อาศัย ความรู้เรื่องการสำรวมในพระปาฏิโมกข์เท่านั้น แต่ต้องอาศัย “ความเข้าใจ” ในเรื่องนี้ประกอบกันด้วย การเปลี่ยนความรู้มาเป็นความเข้าใจ จนสามารถนำไปปฏิบัติแล้วบังเกิดผลไปตามส่วนได้ เหล่านี้ ล้วนเป็นคุณสมบัติของการฝึกอัตถัญญูทั้งสิ้น ดังนั้น การเปลี่ยนความรู้เรื่องการสำรวมในพระปาฏิโมกข์มาเป็นความเข้าใจ จนเห็นแนวทาง ของการนำไปฝึกฝนให้เป็นผลสำเร็จได้ ย่อมต้องอาศัยความเป็นอัตถัญญู กล่าวโดยย่อ คือ ต้องมีองค์ประกอบ 3 ประการ ดังนี้ ของตน 1. อาศัยความรู้เรื่องการสำรวมในพระปาฏิโมกข์ที่ได้จากการอ่าน การฟัง หรือความเป็นธัมมัญญู 2. อาศัยการลงมือฝึกปฏิบัติตามความรู้นั้น 3. อาศัยกัลยาณมิตร หรือครูที่สามารถแนะนำ แก้ข้อสงสัยที่ยังเข้าใจไม่สมบูรณ์ให้ถูกต้อง ตรง ไปตามความมุ่งหมายของการสำรวมในพระปาฏิโมกข์ ในการเริ่มต้นฝึกปฏิบัติของพระภิกษุนั้น การมีครูบาอาจารย์คอยแนะนำเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด อุปมา เหมือนบุคคลเดินทางผ่านป่าใหญ่ การมีผู้ชำนาญทางคอยพาเดินไป ย่อมดีกว่าบุกตะลุยไปแต่เพียงลำพัง เหมือนดังเรื่อง อุกกัณฐิตภิกษุดังนี้ ในสมัยพุทธกาล บุตรเศรษฐีชื่อว่า “อนุปุพพเศรษฐีบุตร” ในกรุงสาวัตถี เป็นผู้ขวนขวายในการ สร้างบุญ ต่อมาได้บวชในพระศาสนา มีภิกษุผู้ทรงพระอภิธรรมเป็นอาจารย์ มีภิกษุผู้ทรงพระวินัยเป็นพระ อุปัชฌาย์ ภายหลังอุปสมบท ฝ่ายพระอาจารย์ของตนกล่าวสอนปัญหาในพระอภิธรรมว่า “ในพระพุทธศาสนา ภิกษุควรทำกิจนี้ ไม่ควรทำกิจนี้” ฝ่ายพระอุปัชฌาย์ ก็กล่าวปัญหาในพระวินัยว่า “ในพระพุทธศาสนา ภิกษุ ทำสิ่งนี้ควร ทำสิ่งนี้ไม่ควร สิ่งนี้เหมาะ สิ่งนี้ไม่เหมาะ” เรียบเรียงจาก เรื่องอุกกัณฐิตภิกษุ, อรรถกถาขุททกนิกาย คาถาธรรมบท, มก. เล่ม 40 หน้า 407 บทที่ 10 ความสัมพันธ์ของคุณกโมก คัลลานสูตร กับธัมมัญญสูตร DOU 223
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More