ข้อความต้นฉบับในหน้า
ดังตัวอย่างเรื่องของพระนางเขมาเทวี ผู้เป็นพระอัครมเหสีของพระเจ้าพิมพิสาร พระนางทรงรัก
ในความงามของตนเอง ต่อมามีโอกาสได้ฟังธรรม จนสามารถบรรลุธรรม เป็นพระอรหันตเถรี ดังมีเรื่องย่อ
ดังนี้ คือ
เรื่องของพระนางเขมา
ในสมัยพุทธกาล พระนางเขมาเป็นผู้มีพระรูปงดงามน่าเลื่อมใสอย่างเหลือเกิน พระนางทราบว่า
“พระศาสดาตรัสติโทษเรื่องรูป” จึงไม่ปรารถนาจะเสด็จไปยังสำนักของพระศาสดาจนกระทั่งพระเจ้าพิมพิสาร
คิดอุบาย ด้วยการให้นักแต่งเพลง แต่งเพลงพรรณนาถึงความสวยงามของวัดเวฬุวัน จนพระนางได้ฟังก็อยาก
เสด็จไป
พระศาสดาทรงทราบการเสด็จมาของพระนาง จึงทรงนิรมิตหญิงรูปงาม ยืนถือพัดก้านตาลพัดอยู่
ที่ข้างพระองค์ ฝ่ายพระนางเขมาเทวีเมื่อทอดพระเนตรเห็นหญิงนั้น จึงทรงดำริว่า “ชนทั้งหลาย พูดกันว่า
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสโทษของรูป ก็หญิงที่ยืนพัดอยู่ข้างพระองค์นี้ เราเองยังเทียบไม่ถึงแม้พียงเสี้ยวหนึ่ง
ของเธอ ความงามอย่างนี้เราเองก็ไม่เคยเห็น ชนทั้งหลายเห็นจะกล่าวตู่พระศาสดา ด้วยคำไม่จริง” แล้วก็
มิใส่ใจถึงเสียงของพระตถาคต มัวแต่ประทับยืนทอดพระเนตรดูหญิงนั้น
พระศาสดาทรงทราบถึงความที่พระนางมีมานะจัดในรูปนั้น จึงทรงแสดงการเปลี่ยนแปลงในรูปนั้น
ตั้งแต่ปฐมวัยจนเหลือเพียงแต่กระดูก เมื่อพระนางทอดพระเนตรเห็น จึงทรงดำริว่า “แม้รูปนั้นก็ถึงความ
สิ้น ความเสื่อมไปโดยครู่เดียวเท่านั้น สาระในรูปนี้ ไม่มีหนอ ?"
พระศาสดาทรงตรวจดูวาระจิตของพระนางเขมาแล้ว จึงตรัสว่า “เขมา เธอจงดูร่างกายอันอาดูร
ไม่สะอาด เน่าเปื่อย ไหลออกทั้งข้างบน ไหลออกทั้งข้างล่าง อันคนพาลทั้งหลาย ปรารถนายิ่งนัก” เมื่อฟัง
ดังนั้น พระนางได้บรรลุเป็นพระโสดาบันทันที และเมื่อพระองค์ตรัสต่อไปอีกว่า “สัตว์ผู้กำหนัดแล้วด้วยราคะ
ย่อมตกไปสู่กระแสตัณหา เหมือนแมลงมุม ตกไปยังใยที่ตัวทำไว้เองฉะนั้น ธีรชนทั้งหลาย ตัดกระแส
ตัณหาแม้นั้นแล้ว เป็นผู้หมดห่วงใย ละเว้นทุกข์ทั้งปวงไป” พระนางก็ดำรงอยู่ในพระอรหัตตผล ณ ที่ตรง
นั้นเอง
9.3.2 เลือกธรรมะตามภูมิหลังเดิม
หมายความว่า ผู้ฟังมีความคุ้นเคยกับสิ่งใด พระพุทธองค์ก็จะทรงแนะนำ เทศนาสั่งสอนในสิ่งนั้น
เนื่องจากผู้ฟังสามารถจะตรองตามธรรมะได้ทัน เกิดความเข้าใจได้ง่าย ดังตัวอย่างที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงโปรดเหล่าชฎิลสามพี่น้องผู้คุ้นเคยกับการบูชาไฟ ณ ตำบลคยาสีสะ ริมฝั่งแม่น้ำคยา ด้วยการตรัส
เรียบเรียงจาก “เรื่องพระนางเขมา”, อรรถกถาขุททกนิกาย คาถาธรรมบท, มก. เล่ม 43 หน้า 298
200 DOU แม่บท การฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา