การศึกษาและการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา หน้า 223
หน้าที่ 223 / 252

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาพูดถึงความสำคัญของการศึกษาและการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะสำหรับฆราวาสที่อาจมีเวลาจำกัดในการศึกษา และเน้นถึงความสำคัญของการเข้าวัดเพื่อเรียนรู้จากพระภิกษุ เพื่อให้สามารถนำธรรมะไปใช้ในชีวิตประจำวัน การมีครูหรือกัลยาณมิตรเป็นสิ่งสำคัญในการเข้าใจและปฏิบัติธรรมอย่างถูกต้อง รวมถึงการประเมินคุณธรรมที่เกิดจากการปฏิบัติ เพื่อการปรับปรุงตนเองอย่างต่อเนื่อง

หัวข้อประเด็น

-การศึกษาและปฏิบัติธรรม
-ความสำคัญของการมีครูและกัลยาณมิตร
-การประเมินคุณธรรมและการปรับปรุงตนเอง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

กระทั่งเกิดเป็นความศรัทธา เชื่อมั่นในพระปัญญาตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีกำลังใจที่จะเดิน ตามแบบอย่างอันดีงามที่พระพุทธองค์เทศนาสั่งสอนไว้ เมื่อพระภิกษุศึกษาได้อย่างนี้ จึงเรียกว่า เป็นธัมมัญญู สำหรับฆราวาสนั้น เนื่องจากเวลาและการดำเนินชีวิตจะหมดไปกับภารกิจ หน้าที่การงาน ที่รับ ผิดชอบ รวมทั้งการดูแลครอบครัว หมู่ญาติ จึงมีเวลาที่จะศึกษาธรรมะให้ทั่วถึงอย่างที่พระภิกษุทำได้ยาก การที่จะเป็นธัมมัญญูรู้ทั่วถึงธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้นั้น เบื้องต้นจึงอยู่ที่การได้เข้าวัด เพื่อได้สนทนา ได้ฟังธรรมะจากพระภิกษุเป็นประจำ จนสามารถจดจำธรรมะนั้นมาพินิจพิจารณา เห็นถึงผลดีในสิ่งที่เป็น ประโยชน์ที่พระภิกษุแนะนำให้ทำ เห็นถึงข้อเสียในสิ่งที่เป็นโทษที่พระภิกษุห้ามไม่ให้ทำจนเกิดกำลังใจอยากที่ จะปฏิบัติตามอย่างไปด้วย และหากหาโอกาสมาศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมได้ ก็ถือเป็นเบื้องสูงต่อไป เช่น ฝ่ายชายลางานมาบวชในช่วงเข้าพรรษา เพื่อให้โอกาสตัวเองได้เข้ามาศึกษาความรู้ในพระพุทธศาสนาใน ช่วงสั้นๆ ได้อย่างเต็มที่ ฝ่ายหญิงก็มาช่วยงานในวัดเป็นครั้งเป็นคราวตามที่ทางวัดสะดวกรองรับ เป็นต้น อัตถัญญู พระภิกษุเมื่อได้ศึกษาความรู้ธรรมะอย่างทั่วถึงขั้นตอนต่อไปจึงเป็นเรื่องของการทำความเข้าใจใน ธรรมะ นำความรู้ที่มีอยู่นั้นมาสู่การปฏิบัติในชีวิตประจำวันให้ได้ นั่นหมายถึงจะต้องเข้าใจความหมาย และนัย ต่างๆ จนนำมาปฏิบัติให้ได้ผล ซึ่งการที่พระภิกษุจะสามารถทำได้เช่นนี้ ก็ต้องมีครู หรือกัลยาณมิตรผู้รู้ ผู้มี ประสบการณ์ที่จะคอยพร่ำสอน บอก แนะนำ แก้ไขความเข้าใจที่ไม่สมบูรณ์ในการปฏิบัตินั้นให้สมบูรณ์ อย่างเช่น พระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ภายในวัด เป็นต้น เมื่อทำได้อย่างนี้ จึงจะเรียกได้ว่า เป็นอัตถัญญู สำหรับฆราวาส การจะเป็นอัตถัญญูได้อย่างพระภิกษุ นอกจากจะขวนขวายในการทำทาน รักษา ศีล เจริญภาวนาอย่างต่อเนื่องแล้ว การได้ครูดีก็เป็นสิ่งสำคัญ จึงขึ้นอยู่กับการหมั่นเข้าวัดเป็นประจำนั่นเอง โดยเฉพาะวัดที่มีความพร้อมในการแนะนำธรรมะ มีบุคลากรทั้งพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ที่สามารถ ให้ความรู้กับเรา ซึ่งเท่ากับได้กัลยาณมิตรมาคอยแนะนำ พร่ำสอนให้เราปฏิบัติได้อย่างถูกต้องตามมา อัตตัญญู ถัดจากนั้นขั้นตอนที่สำคัญ คือการประเมินคุณธรรมที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติของตน โดยอาศัยธรรม 6 ประการ คือ ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา และปฏิภาณ เพื่อตรวจสอบความก้าวหน้าในการปฏิบัติ รวมทั้งตรวจสอบความรู้ ความเข้าใจในธรรมะนั้นๆ ด้วย เพราะเมื่อผลที่ได้จากการประเมินตัวไม่สมบูรณ์ ย่อมเป็นตัวชี้วัดว่าความรู้และความเข้าใจ ตลอดจนการปฏิบัติก็ย่อมไม่สมบูรณ์ตามไปด้วย เมื่อประเมินได้ อย่างนั้น จะได้ปรับปรุงตนเองได้ทันกาล 212 DOU แม่บท การฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More