ข้อความต้นฉบับในหน้า
มีพลังงานไปทำกิจกรรม เราต้องการที่พักสำหรับอยู่อาศัย ทั้งเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ของเรา เราต้องการยารักษาโรคในยามที่ป่วยไข้ เพื่อให้ร่างกายกลับมาแข็งแรงพอจะทำกิจกรรมตามปกติ
ได้ดังเดิม
ไม่ว่าจะเป็นพระภิกษุหรือฆราวาส ปัจจัย 4 ล้วนมีความจำเป็น ทั้งเพื่อการดำรงชีวิต และการทำ
กิจกรรมของชีวิตเช่นเดียวกัน แต่สำหรับพระภิกษุ ปัจจัย 4 เหมือนจะมีความสำคัญมากกว่าฆราวาส เพราะว่า
มีข้อจำกัดทางพระวินัย โดยเฉพาะเมื่อออกบวชมาแล้ว ก็ต้องสละทุกอย่างออกไป คงเหลือเอาไว้แต่เฉพาะสิ่ง
ที่จำเป็นต่อการประพฤติปฏิบัติธรรม พระภิกษุจึงไม่อาจจะซื้อหาข้าวของอะไรมาใช้ตามใจ ไม่สามารถ
นุ่งห่มด้วยเสื้อผ้าที่มีรูปแบบและสีสันอันหลากหลายไม่สามารถรับประทานอาหารในเวลาใดก็ได้ตามใจตนเอง
ปัจจัย 4 ที่พระภิกษุมีอยู่นี้ จึงมีเฉพาะที่จำเป็นต้องมีจริงๆ เท่านั้น ดังนั้นพระภิกษุจึงต้องให้ความสำคัญ
กับการบริหารดูแลปัจจัย 4 ที่ตนมี เพราะหากบริหารไม่ดี ย่อมจะมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตของตนเอง
6.3 พุทธานุญาตเกี่ยวกับปัจจัย 4
6.3.1 วัตถุประสงค์ในการใช้ปัจจัย 4
โดยปกติคนส่วนใหญ่ยังให้ความสำคัญกับการใช้ปัจจัย 4 น้อยจนเกินไป ในขณะที่บางคนมีไม่พอใช้
แต่บางคนกลับมีมากเกินไปจนใช้ไม่ทัน และที่สำคัญคือ ส่วนใหญ่ไม่ทราบด้วยซ้ำว่าเราใช้ปัจจัย 4 ไปเพื่อ
อะไร และเพราะไม่ทราบ จึงมักแสวงหาปัจจัย 4 มามากเกินความจำเป็น เช่น บางคนมีเสื้อผ้ามากชุดเกิน
ไป บางชุดใส่ไม่กี่ครั้งก็เลิกใช้ทั้งที่ยังอยู่ในสภาพที่ดี บางคนซื้ออาหารมามากเกินไป รับประทานจนอิ่มกระทั่ง
รับประทานต่อไม่ไหวก็ต้องทิ้งไปอย่างน่าเสียดายก็มี
ในเรื่องการใช้ปัจจัย 4 นี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนพระภิกษุให้รู้จักใช้อย่างมีสติด้วยความพินิจ
พิจารณา ไม่ใช่ใช้ตามอารมณ์ความชอบใจ ซึ่งเป็นคำสอนที่ทำให้พระภิกษุใช้ปัจจัย 4 อย่างมีประสิทธิภาพ
และได้รับประโยชน์สูงสุด ดังที่พระองค์ตรัสถึงวัตถุประสงค์ของการใช้ปัจจัย 4 กับพระจุนทเถระไว้ว่า
จีวร (เครื่องนุ่งห่ม)
ดูก่อนจุนทะ เพราะฉะนั้นแล เราอนุญาตจีวรแก่พวกเธอก็เพียงเพื่อเป็น
เครื่องบำบัดหนาว บำบัดร้อน บำบัดสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และ
สัตว์เลื้อยคลาน เพียงเพื่อเป็นเครื่องปกปิดอวัยวะอันยังความละอายให้
กําเริบ
118 DOU แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา