ข้อความต้นฉบับในหน้า
จากพระสูตรดังกล่าวข้างต้น
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสถึงความแตกต่างของกลุ่มบุคคลต่างๆ
ไว้ ทั้งในเรื่องของความปรารถนา รสนิยม ความมั่นใจ ความต้องการ รวมทั้งการมีเป้าหมายที่ต่างกัน ซึ่ง
ความต่างกันเหล่านี้มีผลให้ขนบธรรมเนียมประเพณี จริต อัธยาศัย และความถือดีของแต่ละกลุ่มแตกต่าง
กันตามไปด้วย
หากจะกล่าวถึงความถือดีของบริษัทหรือคน 4 กลุ่ม อันได้แก่ กษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี และ
สมณะแล้ว มีตัวอย่างในสมัยพุทธกาล ที่จะยกมากล่าวดังต่อไปนี้
1) ความถือดีของกลุ่มกษัตริย์
ว่าด้วยความถือดี มีทิฏฐิมานะ ที่มีในกษัตริย์ นอกจากเรื่องทรัพย์ ปัญญา กำลังทหาร การครอบ
ครองแผ่นดินเพื่อความเป็นใหญ่แล้วยังมีเรื่องความมีอิทธิพลอำนาจและชาติตระกูลอีกด้วยกษัตริย์แม้ยังทรง
พระเยาว์ก็มิอาจดูหมิ่นได้ เพราะให้คุณให้โทษได้ง่ายเหลือเกิน ซึ่งเรื่องเหล่านี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้
ใน ทหรสูตร' ว่า
“กษัตริย์ไม่ควรดูถูกดูหมิ่นว่ายังทรงพระเยาว์ เพราะกษัตริย์เป็นผู้ถึง
พร้อมด้วยพระชาติ มีพระชาติสูง แม้จะทรงพระเยาว์ เมื่อใดได้เสวยราช
สมบัติแล้ว เกิดทรงพระพิโรธขึ้น ย่อมทรงลงพระราชอาชญาอย่างหนัก
ถึงชีวิตได้”
กษัตริย์แม้อายุยังน้อย ยังทรงพระเยาว์ แต่เมื่อใดได้ครองราชย์แล้วมีอำนาจมาก มีกำลังทหาร ใน
มือ หากไม่พอพระทัย ทรงพิโรธเคืองแค้นแล้วก็สามารถสั่งทหารออกรบฆ่าฟันหรือสั่งให้ลงโทษถึงประหาร
ชีวิต ได้ ความเดือดร้อนและอันตรายจากการวางตัวไม่เหมาะสมก็อาจเกิดขึ้นได้ หากไม่ระมัดระวัง เช่น
เรื่องราวของท้าวมหานามที่ไปดูถูกวิฑูฑภะ ผู้เป็นหลานของตน ด้วยเรื่องชนชั้นวรรณะ เพราะเหตุเพียง
วิฑูฑภะเป็นบุตรชายของธิดาตนที่เกิดจากนางทาสี ท้าวมหานามจึงมีมานะ ไม่นับวิฑูฑภะว่าเป็นเจ้าเหมือน
กับตน วิฑูฑภะแค้นใจ จึงเกิดเรื่องราวดังต่อไปนี้ขึ้น
เมื่อครั้งสมัยพุทธกาล พระเจ้าปเสนทิ ผู้ครองแคว้นโกศล มีความปรารถนาที่จะเป็นพระญาติกับ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงทรงส่งสาส์นไปขอธิดาเจ้าศากยะ ส่วนเจ้าศากยะเห็นว่าพระเจ้าปเสนทิไม่ใช่พวก
ของตน แต่ถ้าไม่ให้ธิดาทางฝ่ายตนก็เกรงจะมีภัย จึงได้ส่งวาสภขัตติยา พระธิดาของท้าวมหานามศากยราช
ที่เกิดกับนางทาสีไปให้
'ทหรสูตร, สังยุตตนิกาย สคาถวรรค, มก. เล่ม 24 ข้อ 322 หน้า 406
เรียบเรียงจาก “เรื่องพระเจ้าวิฑูฑภะ”, อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท, มก. เล่ม 41 หน้า 21-42
บท ที่ 8 ขั้ น ต อ น ที่ 6 ปริสัญญู DOU 175