สมาทานศึกษาในสิกขาบท SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา หน้า 40
หน้าที่ 40 / 252

สรุปเนื้อหา

การสมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลายหมายถึงการรับรู้และปฏิบัติตามข้อศีลที่พระพุทธองค์บัญญัติไว้ โดยในพิธีอุปสมบท ผู้บวชต้องได้รับความยินยอมจากสงฆ์และสมาทานศีลเพื่อให้สามารถปฏิบัติได้อย่างบริสุทธิ์ การศึกษาสิกขาบทมีความสำคัญต่อการปฏิบัติตามพระวินัยอย่างเคร่งครัด เพื่อให้การดำเนินชีวิตในพระธรรมวินัยเป็นไปอย่างมีระเบียบเรียบร้อย และสามารถประพฤติปฏิบัติตนตามกรอบศีลธรรมได้อย่างถูกต้อง ในการนี้ยังช่วยให้พระภิกษุมีความรู้ความเข้าใจและสามารถใช้ชีวิตตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้องและดีงามยิ่งขึ้น

หัวข้อประเด็น

-สมาทานศึกษา
-สิกขาบท
-ศีลในพระพุทธศาสนา
-พระวินัย
-การอุปสมบท

ข้อความต้นฉบับในหน้า

3) สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย “สมาทาน” หมายถึง การรับเอาเป็นข้อปฏิบัติ “สิกขาบท” หมายถึง ศีลแต่ละข้อๆ โดยปกติในพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาต้องได้รับความยินยอมจากภิกษุในที่ประชุม สงฆ์ด้วยญัตติจตุตถกรรม จึงถือว่าผู้บวชได้สมาทานศีลสิกขาบทน้อยใหญ่ไว้สมบูรณ์แล้ว ดังนั้นจึงไม่ต้อง สมาทานศีลเหมือนที่ฆราวาสต้องสมาทานศีล 5 หรือ ศีล 8 กับพระภิกษุอีก ความมุ่งหมายของการสมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลายจึงไม่ใช่เรื่องวิธีการสมาทานศีลเหมือน อย่างฆราวาสหากแต่เป็นเรื่องการศึกษาจุดมุ่งหมายของสิกขาบทในแต่ละข้อที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ให้ เข้าใจอย่างถ่องแท้คือ จดจำได้จนขึ้นใจ และสามารถปฏิบัติตัวตามสิกขาบทแต่ละข้อๆได้อย่างบริสุทธิ์บริบูรณ์ ไม่มีผิดพลาดไปจากกรอบของพระธรรมวินัย ดังที่พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้ แสดงพระธรรมเทศนาไว้ว่า “สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบทน้อยใหญ่ (คือ) ไม่เคลื่อนพระวินัยไปเท่า ปลายขนปลายผม ตั้งอยู่ในกรอบพระวินัยแท้ๆ เหมือนน้ำในมหาสมุทร มีมากน้อยเท่าใดไม่ล้นฝั่ง อยู่ในฝั่งนั่นแหละ อยู่ใน ขีดขอบสมุทรนั่นแหละ ไม่ล้นขอบสมุทรไปได้ นั่นฉันใด ภิกษุอยู่ในธรรมวินัย อยู่ในกรอบพระวินัยนั่นแหละ ประพฤติอยู่ในขอบศีล ธรรมนั่นแหละ ไม่ประพฤติละเมิดอื่นจากศีลธรรมไป” การที่พระภิกษุสามารถปฏิบัติ ตั้งแต่การถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร การมีปรกติเห็นภัยในโทษ แม้เพียงเล็กน้อย และการสมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลายได้ครบถ้วน ย่อมชื่อว่า “สำรวมระวังใน พระปาฏิโมกข์” ซึ่งถือว่าเป็นบทฝึกฝนตนเองขั้นแรกที่สำคัญ เพราะเมื่อรู้จักสำรวมระวังในพระปาฏิโมกข์แล้ว ย่อมทำให้ทราบถึงข้อที่พระพุทธองค์ “ทรงห้าม” ไม่ให้ทำ และข้อที่พระพุทธองค์ “ทรงอนุญาต” ให้ทำได้ ซึ่งจะเป็นเครื่องช่วยขัดเกลากายและวาจา ของพระภิกษุให้สะอาด บริสุทธิ์ เหมาะสมที่จะรองรับคุณธรรม ความดีอื่นๆ ยิ่งขึ้นไป ญัตติจตุตถกรรม แปลว่า กรรมมีญัตติเป็นที่ 4 ได้แก่ การทำสังฆกรรมที่สำคัญ มีการอุปสมบทเป็นต้น ซึ่งเมื่อตั้งญัตติ แล้ว ต้องสวดอนุสาวนาคำประกาศขอมติถึง 3 หน เพื่อสงฆ์ คือที่ชุมนุมนั้นจะได้มีเวลาพิจารณาหลายเที่ยวว่าจะอนุมัติหรือไม่ "พระธรรมเทศนาพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร), เรื่อง “รัตนะ”, 23 พฤษภาคม 2497 บทที่ 2 คณกโมคคัลลานสูตร DOU 29
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More