ข้อความต้นฉบับในหน้า
ถ้าภิกษุไม่พึงรู้จักตนว่า เราเป็นผู้มีศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณ
เพียงเท่านี้ เราก็ไม่พึงเรียกว่าเป็นอัตตัญญู
แต่เพราะภิกษุรู้จักตนว่า เราเป็นผู้มีศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณ
เพียงเท่านี้ ฉะนั้น เราจึงเรียกว่าเป็นอัตตัญญู
ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู ด้วยประการฉะนี้”
คำแปลและความหมาย
“อัตตะ” แปลว่า อาตมา ตัว จิต วิญญาณ
ผู้เป็นอัตตัญญู หรืออัตตัญญุตา หมายถึง ความรู้จักตน คือรู้ว่า เรานั้นว่าโดยฐานะ ภาวะ เพศ
กำลังความรู้ ความสามารถ ความถนัด และคุณธรรม เป็นต้น ว่าบัดนี้มีเท่าไร อย่างไร แล้วประพฤติให้
เหมาะสม เพื่อให้เกิดผลดี
ดังนั้น อัตตัญญู จึงหมายถึง ความรู้จักตน คือรู้จักว่าตนเองมีคุณธรรมมากน้อยเพียงใด เมื่อรู้แล้ว
จะได้เร่งพัฒนา ปรับปรุง แก้ไข เพื่อเพิ่มพูนคุณธรรมให้ก้าวหน้าต่อไปอย่างรวดเร็ว
5.2 คุณธรรม คืออะไร
“คุณธรรม” แปลว่า สภาพคุณงามความดี
คำว่า “คุณ” แปลว่า ประโยชน์ ความดี ความไม่มีโทษ ความไม่มีความชั่ว
“ธรรมะ” แปลว่า ความจริง ธรรมชาติ บุญ ความถูกต้อง ความดีงาม ความไม่เป็นพิษเป็นภัย
ความไม่กลับกลอก
เพราะฉะนั้น คุณธรรมจึงหมายถึง ความถูกต้องดีงามที่เกิดขึ้นมาในกาย วาจา ใจ คนที่มีคุณธรรม
จึงเป็นบุคคลที่ควบคุมทั้งกาย วาจา และใจไม่ให้คิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่วได้ รวมทั้งสามารถส่งเสริมและสนับสนุน
ตัวเองและคนอื่น ให้คิด พูด ทำในสิ่งที่มีประโยชน์ ถูกต้องดีงาม ด้วยความจริงใจอยู่เป็นนิจ
หน้า 14
หน้า 398
พจนานุกรม บาลี-ไทย สำหรับนักศึกษา ฉบับปรับปรุงใหม่ พิมพ์ครั้งที่ 3, (กรุงเทพฯ : ประยูรวงศ์พริ้นท์ติ้ง,2538),
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ 8, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2538),
ราชบัณฑิตยสถาน พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542, (กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คพับลิเคชั่นส์), หน้า 253
บทที่ 5 ขั้ น ต อ น ที่ 3 อัต ตั ญ ญ DOU 91