ข้อความต้นฉบับในหน้า
9.6.1 ประเมินตัวเอง
แม้พระภิกษุจะสามารถแสดงธรรมได้อย่างวิจิตร เป็นที่ถูกอกถูกใจเหล่าผู้ฟังสามารถแนะนำธรรมะ
สอนธรรมะได้มากมายเพียงใดก็ตาม สิ่งสำคัญที่พระภิกษุไม่ควรละเลย คือ การรู้จักสอนและแก้ไขตัวเองควบคู่
ไปด้วย สำหรับแนวทางการประเมินตัวเองนั้น อาจอาศัยจาก 3 แนวทาง คือ
1) องค์แห่งธรรมกถึก ใช้เพื่อตรวจสอบใจตัวเอง ตรวจสอบเนื้อหาธรรมะที่ตนแสดง ทั้งก่อนและ
ภายหลังการแสดงธรรม หากเห็นข้อใดที่ตัวเองบกพร่อง ก็ต้องปรับปรุง และระมัดระวังต่อไป โดยประเมินได้
จากธรรมทั้ง 5 ประการ คือ
1. จักแสดงธรรมไปโดยลำดับ
2. จักแสดงอย่างมีเหตุผล
3. จักแสดงธรรม เพราะอาศัยความเมตตาเอ็นดู มิได้มุ่งร้ายหรือมีวัตถุประสงค์อื่น
4. จักแสดงธรรม มิได้หวังในอามิส
5. จักไม่แสดงธรรมกระทบตนเอง และผู้อื่นให้เดือดร้อน
2) การแสดงธรรมที่บริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์ รู้จักลักษณะการแสดงธรรมของตนเองว่า บริสุทธิ์
หรือไม่บริสุทธิ์เพียงใด หากบกพร่อง ก็จะได้สำรวมระวังและแก้ไขตัวเองให้ทำได้อย่างถูกต้อง โดยอาศัยหลัก
ที่พระองค์ให้ไว้ดังนี้
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมีความคิดอย่างนี้ ย่อม
แสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่นว่า โอหนอชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ก็แล
ครั้นฟังแล้ว พึงเลื่อมใสซึ่งธรรม ผู้ที่เลื่อมใสแล้วเท่านั้น จะพึงทำอาการของ
ผู้เลื่อมใสต่อเรา
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเทศนาของภิกษุเห็นปานนี้แล ไม่บริสุทธิ์
ส่วนภิกษุใดแล เป็นผู้มีความคิดอย่างนี้ แสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่นว่า
พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว เป็นข้อปฏิบัติอันผู้บรรลุ
จะพึงเห็นเองไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อัน
วิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน
208 DOU แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา