การประเมินศีลในทางธรรมปฏิบัติ SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา หน้า 118
หน้าที่ 118 / 252

สรุปเนื้อหา

การประเมินศีลในทางธรรมปฏิบัติสามารถทำได้โดยการพิจารณาถึงการเข้าถึงดวงศีลภายใน ซึ่งเป็นศีลที่มีความบริสุทธิ์และสามารถมองเห็นได้ในศูนย์กลางกายมนุษย์ สำหรับฆราวาสนั้น สามารถประเมินได้จากความผ่องใสของใจ และความเคร่งครัดในศีล 5 หรือ 8 ขณะที่พระภิกษุสามารถประเมินด้วยการฟังธรรมและความตั้งใจในการเรียนรู้ โดยพิจารณาจากความกระตือรือร้นในการฟังธรรมะ, ความเข้าใจในข้อความธรรมะ และการเห็นความบกพร่องในตนเองที่ต้องแก้ไข.

หัวข้อประเด็น

- การประเมินศีล
- อธิศีลภายใน
- ศีล 5 และ 8
- การฟังธรรมะในพระภิกษุ
- การพัฒนาตนเองในทางธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

3. การประเมินศีลในทางธรรมปฏิบัติ ให้พิจารณาจากการ “เข้าถึงดวงศีลภายใน” ซึ่งหมายถึง “อธิศีล” ดังพระธรรมเทศนาของพระมงคลเทพมุนีที่ว่า “ศีลเป็นดวงใสอยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ดวงธรรมที่ทำ ให้เป็นกายมนุษย์ใสบริสุทธิ์ เท่าฟองไข่แดงของไก่ ดวงศีลอยู่ภายในนั้น ใส บริสุทธิ์เท่าดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ อยู่ในดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ ศีลดวงนั่นแหละ ถ้าผู้ปฏิบัติไปถึงไปเห็นเป็นปรากฏขึ้น ในศูนย์กลางกาย มนุษย์ เห็นเป็นปรากฏขึ้น ศีลดวงนั้นแหละได้ชื่อว่าเป็นอธิศีล เป็นอธิศีล แท้ๆ” สําหรับฆราวาส สำหรับฆราวาสก็เช่นเดียวกัน ให้ประเมินจากความผ่องใสของใจ โดยอาศัยพิจารณาจากความ เคร่งครัดในศีล 5 หรือศีล 8 ที่ตนรักษา และที่สุดก็สามารถประเมินจาก “ดวงศีล” เช่นกัน 5.6.3 ประเมินด้วย “สุตะ” สำหรับพระภิกษุ การประเมินด้วยสุตะ หรือการฟังธรรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ สามารถประเมินโดยอาศัยแนวทาง 4 ประการ ดังนี้ 1. ประเมินจากความกระตือรือร้นในการฟังหรืออ่านธรรมะว่ามีมากน้อยแค่ไหน เช่น มีความ กระตือรือร้นที่จะเข้าหาพระอุปัชฌาย์อาจารย์เพื่อฟังหรือสอบถามธรรมะเพียงใด มีความรู้สึกเบื่อหน่ายใน การศึกษาหาความรู้หรือไม่ มักจะใจลอยหรือหลับในเวลาฟังธรรมหรือไม่ เป็นต้น 2. ได้ข้อคิดจากการฟังหรืออ่านธรรมะมากน้อยเพียงใด มีความเข้าใจละเอียดลึกซึ้งแค่ไหน เช่น สิ่งที่ศึกษามาคืออะไร พระองค์สอนเช่นนั้นทำไม และเราจะนำไปปฏิบัติได้อย่างไร เป็นต้น 3. ได้พิจารณาเห็นความบกพร่องในตนเองที่ต้องเร่งแก้ไขมากน้อยแค่ไหน พระธรรมเทศนาพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร), เรื่อง “ ศีลทั้ง 3 ประการ, 14 มีนาคม 2497, หน้า 240 บทที่ 5 ขั้ น ต อ น ที่ 3 อัตตัญญ DOU 107
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More