การบริหารเวลาในชีวิตประจำวัน SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา หน้า 174
หน้าที่ 174 / 252

สรุปเนื้อหา

ในชีวิตประจำวัน การทำความเข้าใจเกี่ยวกับภารกิจสำคัญและเร่งด่วนช่วยในการจัดการเวลาได้ดียิ่งขึ้น โดยการจัดลำดับความสำคัญให้กับภารกิจเช่น การวางแผนและนโยบายที่ส่งผลต่ออนาคตนั้นสำคัญมาก แม้จะไม่เร่งด่วน แต่การไม่ทำอาจส่งผลกระทบในระยะยาวสำหรับองค์กรและชีวิต นอกจากนี้ยังจำเป็นต้องฝึกฝนตนเองเพื่อให้เข้าถึงเป้าหมายในชีวิตโดยการทำทาน รักษาศีล และเจริญสมาธิภาวนา เพื่อให้การบริหารเวลานั้นมีประโยชน์จริงในการสร้างบารมีและพัฒนาความรู้

หัวข้อประเด็น

-การแบ่งประเภทภารกิจ
-การจัดลำดับความสำคัญ
-การศึกษาและการปฏิบัติ
-การสร้างบารมี
-การบริหารเวลาในชีวิตประจำวัน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

2. ภารกิจที่สำคัญ แต่ไม่เร่งด่วน เช่น งานในด้านการวางแผน หรือกำหนดนโยบายที่จะส่งผลกระทบ ต่อชีวิต หน่วยงาน หรือองค์กรในระยะยาว เป็นต้น 3. ภารกิจไม่สำคัญ แต่เร่งด่วน ได้แก่เรื่องเล็กน้อยทั่วๆ ไป เช่นการรับโทรศัพท์ที่กำลังดัง เป็นต้น 4. ภารกิจไม่สำคัญ และไม่เร่งด่วน เช่น การไปเที่ยวเตร่เฮฮา หรือการไปชมภาพยนตร์ ที่ไม่ได้มี ผลดีต่อตนเอง เป็นต้น ในภารกิจเหล่านั้น หากจัดตามลำดับความสำคัญ คนในทางโลกคงให้ความสำคัญกับภารกิจที่ 2 คือ “สำคัญ แต่ไม่เร่งด่วน” เป็นอันดับแรก ส่วนภารกิจสำคัญและเร่งด่วนก็อยู่ในลำดับรองลงมา ทั้งนี้เนื่องจากว่า ภารกิจสำคัญ ที่ไม่เร่งด่วนนั้น แม้จะยังไม่ส่งผลกระทบในระยะสั้นแต่อย่างใด แต่ถ้าหากนิ่งนอนใจไม่รีบทำ ไว้โดยเฉพาะเรื่องการวางแผนและนโยบายก็จะส่งผลกระทบอย่างมากมายต่อความก้าวหน้าของงาน หรือต่อ องค์กรนั้นๆ ในอนาคต สำหรับภารกิจสำคัญและเร่งด่วนนั้น แม้จะมีความสำคัญต้องรีบทำก็จริง แต่ก็มัก ส่งผลในระยะสั้น และนานๆ จึงจะมีให้ทำสักครั้งหนึ่ง จากเหตุปัจจัยดังกล่าว แม้หลักการบริหารเวลาในทางโลก ก็ยังให้ทุ่มเวลาไปกับภารกิจสำคัญก่อน เช่นกัน ดังนั้นหากจะนำกาลัญญมาปรับใช้ให้เหมาะกับวิถีชีวิตของฆราวาส ก็สามารถทำได้ไม่ยาก โดย เริ่มต้นจากการแบ่งกาลทั้ง 4 ออกเป็น 2 ภารกิจ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น คือ 1. การเรียนและการสอบถาม ก็คือ การศึกษาในด้านปริยัติ 2. การประกอบความเพียรและการหลีกออกเร้น ก็คือ การศึกษาในด้านปฏิบัติ ในเมื่อฆราวาสก็ต้องบริหารเวลาเพื่อการสร้างบารมี เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของชีวิตเช่นกัน แต่ การจะบรรลุเป้าหมายได้นั้น คงต้องฝึกปฏิบัติด้วยวิธีที่เหมาะกับเพศภาวะของตนเอง ซึ่งในที่นี้ ก็คือการฝึกฝน ตนเองผ่านการทำทาน รักษาศีล และเจริญสมาธิภาวนา ดังนั้นจึงต้องฝึกบริหารเวลาไปเพื่อใช้ในการ - ศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง ทาน ศีล และภาวนา อย่างจริงจัง และ - นำมาฝึกปฏิบัติตามที่ได้ศึกษามานั้น และหมั่นตอกย้ำซ้ำเดิมเรื่อยไป ด้วยวิธีนี้ ผู้เป็นฆราวาสก็ย่อมจะได้รับประโยชน์อันยิ่งใหญ่คือการได้นำชีวิตของตนเองให้เข้าใกล้กับ เป้าหมายชีวิตอย่างแท้จริง บทที่ 7 ขั้ น ต อ น ที่ 5 กาลัญญ DOU 163
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More