ข้อความต้นฉบับในหน้า
“ความเป็นผู้รู้จักประมาณ ความไม่หลงติดอยู่ในโภชนะ เป็นความดี
ด้วยว่าบุคคล ไม่รู้จักประมาณ ย่อมจมลงในอบายทั้ง 4 บุคคล ผู้รู้จัก
ประมาณแล ย่อมไม่จมลงในอบาย4”
2.3.4 ขั้นตอนที่ 4 “ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเป็นผู้ตื่นอยู่”
เมื่อพระภิกษุสามารถฝึกฝนอบรมตนเองจนเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะดีแล้ว พระพุทธองค์จะทรง
แนะนำให้ยิ่งขึ้นไปว่า
ดูก่อนภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเป็นผู้ตื่นอยู่ คือจงชำระจิตให้บริสุทธิ์
จากอาวรณียธรรม ด้วยการเดินจงกรมและการนั่งตลอดวัน จงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณียธรรม ด้วย
การเดินจงกรมและการนั่งตลอดปฐมยามแห่งราตรี จึงเอาเท้าซ้อนเท้า มีสติรู้สึกตัว ทำความสำคัญว่าจะ
ลุกขึ้น ไว้ในใจ แล้วสำเร็จสีหไสยาโดยข้างเบื้องขวาตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี จงลุกขึ้นชำระจิตให้บริสุทธิ์
จากอาวรณียธรรม ด้วยการเดินจงกรมและการนั่ง ตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรีเถิด”
คำว่า “ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเป็นผู้ตื่นอยู่” หมายถึง การหมั่นประกอบความตื่น ไม่เห็นแก่นอน
กล่าวคือ ให้พระภิกษุรู้จักจัดสรรเวลาของตัวเอง เพื่อประโยชน์แก่การทำสมาธิเจริญภาวนา ไม่ยอมปล่อย
เวลาให้สูญเปล่า ตกไปในอำนาจของกระแสกิเลส มีความง่วงเหงาซึมเซา เป็นต้น โดยตรัสแนะนำการแบ่งเวลา
เพื่อการทำสมาธิเจริญภาวนาไว้ 4 ช่วง คือ
1. ช่วงกลางวัน (06.00-18.00 น.) บำเพ็ญเพียรชำระจิตให้สะอาด ด้วยอิริยาบถเดิน คือ เดิน
จงกรม และอิริยาบถนั่งทำสมาธิภาวนา
2. ช่วงปฐมยามแห่งราตรี (18.00-22.00 น.) บำเพ็ญเพียรชำระจิตให้สะอาด ด้วยอิริยาบถเดิน
คือ เดินจงกรม และอิริยาบถนั่งทำสมาธิภาวนาเช่นกัน
3. ช่วงมัชฌิมยามแห่งราตรี (22.00-02.00 น.) นอนพักด้วยสีหไสยา คือการนอนอย่างราชสีห์
โดยนอนตะแคงขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมกันเล็กน้อย มีสติสัมปชัญญะ พร้อมจะลุกขึ้นบำเพ็ญภาวนาต่อไป
4. ช่วงปัจฉิมยามแห่งราตรี (02.00-06.00 น.) บำเพ็ญเพียรชำระจิตให้สะอาด ด้วยอิริยาบถเดิน
คือ เดินจงกรม และอิริยาบถนั่งทำสมาธิภาวนาเช่นเดิม
สุกชาดก, อรรถกถา ขุททกนิกาย ติกนิบาตชาดก, มก. เล่ม 58 ข้อ 366 หน้า 40
อบาย 4 หมายถึง ภูมิกำเนิดที่ปราศจากความเจริญ มี 4 อย่าง คือ นรก ดิรัจฉาน เปรต และอสุรกาย
*อาวรณียธรรม หมายถึง ธรรมเครื่องขวางกั้นความดี
บทที่ 2 คณกโมคคัลลานสูตร DOU 37