ข้อความต้นฉบับในหน้า
3. เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อญายธรรม (ญายปฏิปันโน) คือท่านตั้งใจปฏิบัติเพื่อให้รู้เห็นธรรม สำหรับจะ
นำพาตัวท่านให้หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะ และความทุกข์ทั้งปวง
4. เป็นผู้ปฏิบัติชอบ (สามีจิปฏิปันโน) คือท่านเป็นผู้ตั้งใจปฏิบัติอย่างเหมาะสม ดีเลิศในธรรมวินัย
ทั้งน้อยใหญ่ และยอมทุ่มเทเอาชีวิตเป็นเดิมพันในธรรมที่ปฏิบัติได้โดยยาก
และเพราะการปฏิบัติอย่างนั้น ผลคือทำให้ท่านได้บรรลุธรรม เป็นพระอริยบุคคล ซึ่งก็คือบุคคลที่
พระองค์ตรัสเรียกว่า “อริยบุคคล 4 คู่ 8 จำพวก” อันได้แก่ผู้เข้าถึง (1) ธรรมกายโสดาปัตติมรรค (2) ธรรมกาย
โสดาปัตติผล (3) ธรรมกายสกทาคามิมรรค (4) ธรรมกายสกทาคามิผล (5) ธรรมกายอนาคามิมรรค (6)
ธรรมกายอนาคามิผล (7) ธรรมกายอรหัตตมรรค (8) ธรรมกายอรหัตตผล
ดังนั้น ผู้ที่สมควรแก่การได้รับอานิสงส์สำคัญทั้ง 5 ประการ ก็คือพระอริยเจ้าในระดับต่างๆ นั่นเอง
แต่เพราะเหตุใด พระภิกษุผู้ปฏิบัติตามธัมมัญญูสูตรได้ จึงได้รับอานิสงส์เช่นเดียวกัน คำตอบสำหรับข้อนี้นั้น
น่าจะเป็นเพราะเหตุผลสำคัญ 2 ประการ คือ
1. หากพระภิกษุได้ปฏิบัติตามขั้นตอนทั้ง 7 จากธัมมัญญูสูตรได้อย่างสมบูรณ์ ย่อมจะทำให้ กาย
วาจา ใจ ของท่านใสสะอาดบริสุทธิ์ หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะ ได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้าระดับใดระดับ
หนึ่งอย่างแน่นอน เพราะเหตุนั้น จึงทำให้ท่านเป็นผู้ควรได้รับอานิสงส์สำคัญทั้ง 5 ประการนั้นด้วย
2. แม้พระภิกษุจะไม่ได้บรรลุธรรมใดๆ แต่เพราะได้ฝึกปฏิบัติตามขั้นตอนต่างๆ ในธัมมัญญสูตร
มาอย่างเคร่งครัด ก็ย่อมได้ชื่อว่าเป็นพระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติเพื่อญายธรรม และปฏิบัติชอบ ไป
โดยปริยาย เพราะสามารถทำตามคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้อย่างถูกต้อง และเพราะเหตุที่ท่านมี
ข้อวัตรปฏิบัติไปในทางเดียวกันกับพระอริยเจ้าเช่นนี้ พระองค์จึงทรงยกย่องสรรเสริญให้ท่านเป็นผู้ที่ควร
แก่อานิสงส์ทั้ง 5 เช่นกัน
3.2 วิธีการในขั้นตอนที่ 1 คือ “ธัมมัญญู”
การฝึกตามวิธีการในธัมมัญญูสูตร พระภิกษุจะต้องฝึกอย่างเป็นขั้นเป็นตอนต่อเนื่องกันไป ซึ่งราย
ละเอียดจะได้กล่าวในบทต่อๆ ไป ส่วนในที่นี้ จะได้อธิบายในขั้นตอนที่ 1 คือ การฝึกให้เป็นธัมมัญญบุคคล
3.2.1 การเป็นธัมมัญญู
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงวิธีการฝึกตนเองให้เป็นธัมมัญญบุคคล ไว้ดังนี้
ภาวนาวิริยคุณ, พระ, (เผด็จ ทัตตชีโว), พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ, (กรุงเทพฯ : นฤมิต โซล เพรส),
2546, หน้า 233
บทที่ 3 ขั้ น ต อ น ที่ 1 ธั ม มั ญ ญ DOU 57