ข้อความต้นฉบับในหน้า
3) เมื่อนำคำสอนของพระองค์มาปฏิบัติแล้วได้ผลดีจริง คือ ปฏิบัติแล้วสามารถหมดกิเลสตาม
พระองค์ไปได้จริง
ในบรรดาศรัทธาทั้ง 4 ตถาคตโพธิสัทธามีความสำคัญที่สุด เพราะความเชื่ออื่นๆ นั้น อาศัยความ
เชื่อในปัญญาตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพื้นฐาน
ในทางปฏิบัติศรัทธามีลักษณะเป็นความสว่างที่เกิดขึ้นในใจ เมื่อเกิดแล้วจะส่งผลให้คนๆ นั้นอยากทำ
ความดีด้วยกาย วาจา และใจ ซึ่งเป็นต้นทางให้กุศลธรรมเจริญขึ้นมา เหมือนดังเรื่องตัวอย่างของพระสารีบุตร
เถระ
สมัยที่พระสารีบุตรเถระยังเป็นฆราวาสอยู่ ท่านมีชื่อว่า “อุปติสสะ” เกิดความเบื่อหน่ายในเพศ
ฆราวาส จึงออกบวชอยู่ในสำนักของสญชัยปริพาชก พร้อมกับเพื่อนชื่อ “โกลิตะ” ซึ่งต่อมาคือพระมหาโมคคัล
ลานเถระ ท่านทั้งสองพบว่า ลัทธิของสญชัยปริพาชกไม่มีแก่นสาร จึงตกลงกันว่าจะออกแสวงหาอาจารย์ที่
จะช่วยแนะนำให้ได้บรรลุธรรม โดยหากใครได้บรรลุก่อน ก็ให้กลับมาบอกกันและกันด้วย
วันหนึ่งอุปติสสปริพาชกเห็นอิริยาบถอันน่าเลื่อมใส ท่าทางสง่างาม มีความสำรวมดีของพระอัสสชิ
เถระขณะที่ท่านกำลังบิณฑบาต จึงเกิดเลื่อมใสศรัทธา เดินตามไปเพื่อสอบถามธรรม เมื่อได้ฟังพระอัสสชิ
แสดงธรรมแต่เพียงสั้นๆ ท่านก็ได้บรรลุเป็นพระโสดาบันบุคคลในทันที
การที่พระสารีบุตรได้บรรลุธรรมก็เพราะเริ่มต้นจากความเป็นผู้มีศรัทธาในพระอัสสชิก่อน ศรัทธาจึง
เป็นเหมือนต้นทางแห่งความดี ใครที่มีศรัทธาก็ย่อมมีโอกาสจะพัฒนาคุณธรรมให้เกิดขึ้นในตน สำหรับผู้มี
ศรัทธา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้หลักในการพิจารณาไว้ใน ฐานสูตร ว่า
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้มีศรัทธาเลื่อมใส จึงรู้ได้ด้วยสถาน 3 คือ
(1) เป็นผู้ใคร่ในการเห็นผู้มีศีลทั้งหลาย
(2) เป็นผู้ใคร่เพื่อจะฟังธรรม
(3) มีใจปราศจากมลทิน คือความตระหนี่อยู่ครองเรือน มีการบริจาคอัน
ปล่อยแล้ว มีมืออันล้างไว้ (คอยจะหยิบของให้ทาน) ยินดีในการสละ ควร
แก่การขอ พอใจในการให้และการแบ่งปัน”
เรียบเรียงจาก “สารีปุตตเถราปทาน”, ขุททกนิกาย อปทาน, มก. เล่ม 70 หน้า 413
ฐานสูตร, อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต, มก. เล่ม 34 ข้อ 481 หน้า 192
96 DOU แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา