การพัฒนาตนเองตามหลักธรรม 6 ประการ SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา หน้า 116
หน้าที่ 116 / 252

สรุปเนื้อหา

การพัฒนาตนเองผ่านการฝึกอบรมตามหลักธรรม 6 ประการ ได้แก่ ศรัทธา, ศีล, สุตะ, จาคะ, ปัญญา, และปฏิภาณ ช่วยให้บุคคลมีความบริสุทธิ์และเติบโตทางจิตใจ การประเมินคุณธรรมในตนเองเป็นกุญแจสำคัญในการเดินทางสู่นิพพาน การมีศรัทธาในคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและการปฏิบัติอย่างจริงจังเป็นสิ่งจำเป็นในการบรรลุเป้าหมายทางธรรม.

หัวข้อประเด็น

-ศรัทธา
-ศีล
-สุตะ
-จาคะ
-ปัญญา
-ปฏิภาณ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ศีล 8 ได้ ตนเองก็จะยิ่งมีความบริสุทธิ์ยิ่งขึ้นไปอีก เมื่อรู้สึกเช่นนี้ ความอยากรู้อยากเข้าใจในธรรมก็มีมาก ขึ้น จึงเกิดความขวนขวายที่จะได้ยินได้ฟังธรรม ซึ่งก็คือ “สุตะ” นั่นเอง 4. “จาคะ” เมื่อฝึกจนมีกาย และวาจาใสสะอาดบริสุทธิ์มาได้ระดับหนึ่ง จะพบว่าแท้ที่จริง ศีลก็ คือเครื่องมือที่ช่วยฝึกให้ใจไม่ไปติดในสิ่งนอกตัวมากนัก เพราะการที่ไม่ได้นำกายและวาจาไปทำความชั่วอะไร เท่ากับเป็นการควบคุมใจของตนเองไว้ให้อยู่กับตัวเมื่อกายวาจาบริสุทธิ์ผ่องใสใจก็เริ่มตั้งมั่นอยู่ในฐานที่ตั้งของ ใจ และในที่สุดใจจะค่อยๆ คลายจากอารมณ์ทั้งหลายทั้งปวง ซึ่งก็คือ “จาคะ” หรือการสละอารมณ์นั่นเอง 5. “ปัญญา” เมื่อใจคลายจากอารมณ์ทั้งหลาย ก็ตั้งมั่นอยู่ที่กลางกายของตนเอง เมื่อตั้งมั่นก็สงบ หยุดนิ่ง เกิดเป็นความรู้แจ้งเห็นจริงในสรรพสิ่งทั้งหลาย ซึ่งก็คือปัญญาที่ได้จากการบรรลุธรรม 6. “ปฏิภาณ” เมื่อเกิดปัญญา ก็สามารถใช้ปัญญาได้อย่างแคล่วคล่องว่องไว ครั้นฝึกฝนเรื่อยไปก็ กลายเป็นปฏิภาณในที่สุด 5.6 แนวทางใช้ธรรม 6 ประการเพื่อประเมินตนเอง สำหรับการนำธรรมทั้ง 6 ประการ ได้แก่ ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา และปฏิภาณ มาใช้ ประเมินคุณธรรมในตนเอง มีแนวทางดังนี้ คือ 5.6.1 ประเมินด้วย “ศรัทธา” สำหรับพระภิกษุ การมีศรัทธา หมายถึงการมีความเชื่อมั่นในปัญญาตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เรียกว่า ตถาคตโพธิสัทธา คือ เชื่อมั่นว่าสิ่งที่พระองค์สั่งสอนทั้งหมดดีจริง และเป็นสิ่งที่พระภิกษุต้องปฏิบัติตาม ดังนั้น การจะรู้ว่าตัวเองเชื่อมั่นมากแค่ไหน ให้พิจารณาว่า เราได้ทุ่มเทฝึกหัดขัดเกลา กาย วาจา ใจ ตามที่ พระองค์ทรงสอนขนาดใช้ชีวิตเป็นเดิมพันหรือไม่ เป็นเกณฑ์ ความเลื่อมใสในระดับใช้ชีวิตเป็นเดิมพัน หมายความว่า พระภิกษุจะต้องพากเพียรปฏิบัติชนิด ไม่มีข้อแม้ เงื่อนไข และข้ออ้างใดๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะมีอุปสรรคหรือลำบากยากแค้นเพียงใด ก็ต้องเพียรพยายาม เรื่อยไป โดยมีเป้าหมายคือการบรรลุมรรคผลนิพพาน ด้วยวิธีการอย่างนี้ พระภิกษุจึงต้องหมั่นพิจารณาศรัทธาที่ตนเองมีอยู่เสมอ เช่น ประเมินตนเอง ว่า วันนี้ได้ตั้งใจฝึกฝนอบรมตนเองไปมากน้อยแค่ไหน ยังคงมีความตั้งใจที่จะประพฤติพรหมจรรย์ให้ก้าวหน้า บทที่ 5 ขั้ น ต อ น ที่ 3 อัตตัญญ DOU 105
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More