ข้อความต้นฉบับในหน้า
สุกชาดก
ในอดีตกาล สมัยพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในพระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เกิดเป็น
พญานกแขกเต้า มีบริวารหลายพันตัว อาศัยอยู่ในหิมวันตประเทศอันเลียบไปตามมหาสมุทร พระโพธิสัตว์
มีลูกอยู่ตัวหนึ่ง เมื่อลูกนกเจริญวัย ดวงตาของพระโพธิสัตว์ก็บอด ลูกนกแขกเต้าตัวนั้น จึงให้บิดามารดา
อยู่แต่ในรัง แล้วตนเองนำอาหารมาเลี้ยงดูอย่างสม่ำเสมอ
วันหนึ่งลูกนกแขกเต้าตัวนั้นไปยังที่หากินแล้วจับอยู่บนยอดเขา มองดูมหาสมุทรเห็นเกาะหนึ่ง เต็ม
ไปด้วยป่ามะม่วง มีผลหวาน สีคล้ายทอง วันรุ่งขึ้นเมื่อได้เวลาหากิน จึงบินไปลงที่ป่ามะม่วงนั้น ดื่มรส
มะม่วงแล้ว ก็คาบเอาผลมะม่วงสุกมาให้บิดามารดา พระโพธิสัตว์เมื่อได้กินผลมะม่วงนั้นก็จำรสได้จึงกล่าวว่า
“ลูกเอ๋ย นี้ผลมะม่วงสุกในเกาะโน้นมิใช่หรือ”
“ใช่จ้ะพ่อ”
“ลูกเอ๋ย พวกนกแขกเต้าที่ไปยังเกาะนั้น ชื่อว่าจะรักษาอายุให้ยืนยาวได้ไม่มีเลย เจ้าอย่าได้
ไปยังเกาะนั้นอีกเลย”
ลูกนกแขกเต้าไม่เชื่อคำของพระโพธิสัตว์ ยังคงไปอยู่อย่างนั้นนั่นเอง ครั้นวันหนึ่งลูกนกแขกเต้า
ดื่มรสมะม่วงเป็นอันมากแล้วคาบเอามะม่วงสุกมาเพื่อบิดามารดา เมื่อบินมาถึงกลางมหาสมุทร เพราะบิน
เร็วเกินไป ร่างกายก็เหน็ดเหนื่อย ถูกความง่วงครอบงำ จึงหลับทั้งที่ยังบินอยู่ มะม่วงสุกที่คาบมาก็ร่วง
ลงไป ลูกนกแขกเต้าตกลงในมหาสมุทร ถูกปลาตัวหนึ่งคาบเอาไปกิน
เมื่อลูกนกแขกเต้าไม่มาตามเวลาที่เคยมา พระโพธิสัตว์ก็รู้ได้ว่า คงจะตกมหาสมุทรตายเสียแล้ว เมื่อ
บิดามารดาของเขาไม่ได้อาหารอย่างนั้น ต่อมาจึงซูบผอมตายไป
ครั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงนำเรื่องในอดีตมาเล่าแล้วตรัสว่า ภิกษุผู้มรณภาพ เพราะไม่รู้ประมาณ
ในโภชนะนั้น ได้เป็นลูกของพญานกแขกเต้าในกาลก่อน ส่วนพญานกแขกเต้า คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ในกาลนี้
จะเห็นได้ว่า การไม่รู้จักประมาณในการบริโภคนั้น ย่อมก่อให้เกิดผลเสียแก่ชีวิตตัวเอง ปิดโอกาส
ในการสั่งสมเพิ่มพูนบุญบารมี ปิดหนทางการประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ต่อไปเหมือนพระภิกษุที่
มรณภาพ เพราะไม่รู้จักประมาณในการบริโภคยิ่งกว่านั้นยังมีโอกาสพาตัวเองไปสู่อบายภูมิได้อีกด้วย เหมือนดัง
ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเคยตรัสเตือนพระภิกษุไว้ว่า
เรียบเรียงจาก “สุกชาดก”, อรรถกถา ขุททกนิกาย ติกนิบาตชาดก, มก. เล่ม 58 หน้า 40-42
36 DOU แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา