ข้อความต้นฉบับในหน้า
ใหญ่ในสระ ท่านก็เนรมิตให้ ขอให้เนรมิตหญิงสาวในดอกบัว ท่านก็เนรมิตหญิงสาวขึ้นมา
พระธัมมทินนะจึงขอต่อไปว่า ให้ท่านเอาใจใส่ในรูปกายของหญิงสาวนั้น พอพระมหาติสสเถระเอาใจ
ไปจดจ่อในรูปของหญิงสาวที่สวยงาม ความกำหนัดยินดีในกามก็ฟังกำเริบขึ้นมา ท่านจึงรู้ว่าแท้ที่จริงท่านยัง
เป็นปุถุชนอยู่ เมื่อรู้อย่างนั้นท่านจึงขอให้พระธัมมทินนะช่วยแนะนำตัวท่านด้วย
พระธัมมทินนะแนะนำให้ท่านพิจารณาความไม่งามในร่างกาย แล้วเดินออกจากอารามไปเพื่อให้
พระเถระได้ใช้เวลาทำความเพียร เพียงพระธัมมทินนะเดินพ้นออกไปเท่านั้น พระมหาติสสเถระก็ได้บรรลุ
พระอรหัตผลในทันที
จากเรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า หากไม่ทราบว่าจะประเมินคุณธรรมในตนเองอย่างไร โอกาสที่จะหลง
คิดว่าตนเองบรรลุธรรม อย่างเรื่องของพระมหาติสสเถระก็อาจเกิดขึ้นได้ ดังนั้นการรู้จักประเมินคุณธรรม
ภายใน จึงเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็น
ในทางตรงกันข้าม สำหรับผู้ที่รู้จักประเมินคุณธรรมในตัวเองได้ก็จะรู้ว่าตนเองยังต้องทำความเพียร
ต่อไป คุณธรรมภายในก็จะยิ่งเพิ่มพูน เหมือนดังตัวอย่างของพระลกุณฎกเถระ ดังนี้
เรื่องพระลกุณฏกภัททิยะ
พระลกุณฏกภัททิยะ เดิมท่านเป็นกุลบุตรในตระกูลที่มีฐานะดี อยู่ในกรุงสาวัตถี แต่มีรูปร่าง
ไม่น่าเลื่อมใส มีวรรณะไม่งาม ค่อม ไม่น่าดู
วันหนึ่งท่านไปที่วัดพระเชตวัน ที่พระบรมศาสดาประทับอยู่ ได้ฟังพระธรรมเทศนา เกิดศรัทธา จึง
ตัดสินใจบรรพชาอุปสมบท และเรียนกัมมัฏฐานที่นั่น บำเพ็ญวิปัสสนา จนได้บรรลุโสดาปัตติผล
ในสมัยนั้นเอง มีภิกษุที่เป็นเสขบุคคล จำนวนมากเข้าไปกราบพระสารีบุตรเพื่อขอกัมมัฏฐาน
ขอฟังธรรมเทศนา และถามปัญหาเพื่อการบรรลุธรรมที่สูงขึ้น เมื่อพระสารีบุตรบอกกัมมัฏฐานแสดงธรรม
แก้ปัญหาให้แล้ว พระภิกษุเหล่านั้นได้พากเพียรพยายาม จนกระทั่งบางพวกบรรลุสกทาคามิผล บางพวก
บรรลุอนาคามิผล บางพวกบรรลุอรหัตผล บางพวกได้วิชชา 3 บางพวกได้อภิญญา 6 บางพวกได้
ปฏิสัมภิทา 4
ส่วนพระลกุณฏกภัททิยะเองก็สังเกตการณ์มาโดยตลอด แม้ว่าท่านจะเป็นพระเสขบุคคล ก็รู้จักกาล
พระอนาคามี
เรียบเรียงจาก “ปฐมภัททิยสูตร”, อรรถกถา ขุททกนิกาย อุทาน, มก. เล่ม 44 หน้า 661
เสขบุคคล คือ ผู้ที่ยังต้องศึกษาอยู่ ได้แก่พระอริยบุคคลที่ยังไม่บรรลุอรหัตผล คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี และ
94 DOU แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา