ข้อความต้นฉบับในหน้า
2. สุตมยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการศึกษาเล่าเรียน หรือได้ยินได้ฟังมาจากผู้อื่น
3. ภาวนามยปัญญา เป็นปัญญาที่เกิดจากการปฏิบัติธรรม
ปัญญาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปรารถนาให้พระภิกษุเข้าถึงคือปัญญาที่เกิดจากการเจริญสมาธิ
ภาวนา หรือที่เรียกว่า “อธิปัญญา” ซึ่งพระองค์ตรัสไว้ว่า
“อธิปัญญาสิกขาเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีปัญญา
ประกอบด้วยปัญญาอันให้ถึงความเกิดและความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส
ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่านี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์
นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุให้เกิด
อาสวะ นี้ความดับอาสวะ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ นี้ชื่อว่า
อธิปัญญาสิกขา”1
อธิปัญญา คือ ปัญญาที่เกิดจากการรู้แจ้งแทงตลอดในอริยสัจ 4 หมายถึงความรู้ของพระอริยเจ้า
ที่รู้ในความทุกข์ รู้ว่าเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์นั้นคืออะไร รู้ว่าทุกข์สามารถที่จะดับหรือกำจัดได้ และเห็นวิธีปฏิบัติ
เพื่อความหลุดพ้นนั้น
ความรู้เช่นนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า คือปัญญาที่เห็นความเกิดและความดับ ซึ่งก็คือการเห็น
ไตรลักษณ์” นั่นเอง เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างมีความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ชั่วขณะหนึ่ง และเสื่อมสลายไป สรรพสิ่ง
ทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นภูเขา บ้านเรือน รวมถึงตัวของเราเองล้วนตกอยู่ในความเกิดและความดับ ร่างกายนี้
มีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้นความรู้เท่าทันและทั่วถึงในความเกิดและความดับในตัว
ของเราว่า ตัวตนของเรานี้ แท้ที่จริงไม่ใช่เป็นของของเราไม่ใช่เป็นตัวของเรา มีวันที่จะแตกสลายไปได้ ความรู้
เท่าทันในการเกิดและดับ จึงหมายถึงการรู้เท่าทันในสังขาร รู้เท่าทันในตัวของตัวเอง
5.4.6 ปฏิภาณ
“ปฏิภาณ” แปลว่า เชาวน์ไวในการกล่าวแก้ หรือโต้ตอบได้ฉับพลันทันที และแยบคาย ปัญญาแก้
ว่าด้วยผู้มีสติโดยเหตุ 4, ขุททกนิกาย มหานิทเทส, มก. เล่ม 66 ข้อ 708 หน้า 289
"อริยสัจ 4 คือความจริงของพระอริยเจ้า ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
ไตรลักษณ์ คือ ลักษณะสาม หมายถึง ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความมิใช่ตัวตน (อนิจฺจตา ทุกฺขตา อนตฺตตา)
102 DOU แม่บทการฝึกอบรม ในพระ
ระ พุ ท ธ ศ า ส นา