ความสำคัญของการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา หน้า 160
หน้าที่ 160 / 252

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้กล่าวถึงคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกี่ยวกับการยอมรับความไม่แน่นอนของชีวิต และการต้องรีบเร่งในการสั่งสมบุญในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ การศึกษาความคิดของพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้งเผยให้เห็นว่าเวลาในชีวิตมีน้อย และการดำเนินชีวิตต้องพึ่งพาการปฏิบัติธรรมเพื่อเตรียมพร้อมต่อความตาย พระเจ้าปเสนทิโกศลประกาศถึงความสำคัญของการทำบุญและธรรมะในการรับมือกับมหาภัยที่เกิดขึ้น อีกทั้งยกตัวอย่างอุปมาและคำสอนเกี่ยวกับความสั้นของชีวิตเพื่อกระตุ้นให้คนเข้าใจและไม่ประมาทในเวลาที่เหลืออยู่

หัวข้อประเด็น

-การปฏิบัติธรรม
-การสั่งสมบุญ
-ความสำคัญของเวลาในชีวิต
-ทัศนคติของพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับการตาย
-การเตรียมพร้อมสำหรับมหาภัย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

“หากเวลานี้ มีข้าราชการของพระองค์ผู้มาจากทั้ง 4 ทิศ กราบทูลว่า ขณะนี้มีภูเขาใหญ่สูงเทียม เมฆกำลังกลิ้งบดขยี้สัตว์ทั้งหลายเข้ามา พระองค์จะทรงปรารถนาเพื่อทำสิ่งใด ก็ขอได้โปรดทำเถิด” จากนั้นทรงถามต่อไปว่า “เมื่อมหาภัยใหญ่เกิดขึ้นกับพระองค์อย่างนี้ พระองค์จะทำอะไร” พระเจ้าปเสนทิโกศลทูลตอบว่า “ข้าพระองค์จะประพฤติปฏิบัติธรรม และทำบุญกุศล พระเจ้าข้า” พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสว่า “ดูก่อนมหาบพิตร อาตมภาพขอบอกกล่าว ขอเตือนให้ทรงทราบ ดูก่อนมหาบพิตร ชราและมรณะย่อมครอบงำพระองค์ ดูก่อนมหาบพิตร ก็และเมื่อชรามรณะครอบงำพระองค์ อยู่ อะไรเล่า จะพึงเป็นกิจที่มหาบพิตรพึงกระทำ” พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงทูลตอบเช่นเดิมว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็และเมื่อชรามรณะครอบงำ ข้าพระองค์อยู่อะไรเล่าจะพึงเป็นกิจที่หม่อมฉันควรจะทำ นอกจากประพฤติธรรม นอกจากประพฤติสม่ำเสมอ นอกจากทำกุศล นอกจากทำบุญ” ดังนั้น สำหรับผู้ที่มีเป้าหมายชีวิต ไม่ว่าจะเป็นพระภิกษุหรือฆราวาส ก็ต้องไม่ประมาทในวันเวลา ที่ผ่านไป และจะต้องรีบเร่งขวนขวาย สั่งสมบุญบารมีเรื่อยไปให้ได้ทุกวัน 7.4 ทัศนคติเรื่องชีวิตกับเวลาในทางพระพุทธศาสนา จากที่ได้ศึกษามา เราอาจกล่าวถึงแนวความเห็นเรื่องชีวิตกับเวลา ในทางพระพุทธศาสนา ได้ดังนี้ 7.4.1 เวลาในชีวิตมีน้อย ทั้งนี้ไม่ว่าจะมีอายุยืนนานเท่าไร ก็ยังนับว่าน้อยอยู่ดี ซึ่งในเรื่องนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน “อรกานุสาสนีสูตร” ว่า แม้ในสมัยที่มนุษย์มีอายุประมาณ 60,000 ปี ศาสดาคนหนึ่งชื่อว่าอรกะ ก็ยังสอน ศิษย์ของตนเองว่าชีวิตนี้ตั้งอยู่ได้ไม่นาน ท่านสอนศิษย์ของตนเองว่า 1. ชีวิตเหมือนน้ำค้างที่ปลายยอดหญ้า เมื่อต้องแสงอาทิตย์ก็แห้งหายไปโดยเร็ว 2. ชีวิตเหมือนฟองน้ำที่เกิดยามฝนตก ที่แตกสลายไปอย่างรวดเร็ว 3. ชีวิตเหมือนรอยไม้ที่ขีดลงไปในน้ำ ย่อมกลับเข้าหากันอย่างรวดเร็ว เรียบเรียงจาก อรกานุสาสนี้สูตร, อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต, มก. เล่ม 37 ข้อ 71 หน้า 273 บทที่ 7 ขั้ น ต อ น ที่ 5 กาลัญญ DOU 149
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More