ข้อความต้นฉบับในหน้า
ต่อมาเมื่อศิษย์ของพระวิปัสสกเถระเดินทางมาเข้าเฝ้าพระศาสดา ท่านจึงฝากให้ศิษย์เข้ามา
กราบนมัสการเยี่ยมเยียนพระคันถูกเถระแทนท่านด้วย เมื่อพระวิปัสสกเถระส่งข่าวเยี่ยมเยียนผ่านศิษย์
ของท่านในทำนองเดียวกันหลายๆ ครั้งเข้า พระคันถูกเถระจึงเกิดความสงสัยขึ้นว่า เพื่อนของเราไม่ได้
เรียนและไม่รู้คาถาแม้สักว่าเล็กน้อยเลย ตั้งแต่วันที่บวชมา เธอก็เข้าไปอาศัยในป่าแต่ทำไมเธอถึงมีศิษย์
มากมายถึงเพียงนี้ เมื่อคิดดังนี้แล้ว ก็ตั้งใจว่าจะถามปัญหาเพื่อทดสอบภูมิความรู้เมื่อสหายของท่านเดินทาง
มาด้วยตนเอง
ในกาลต่อมา พระวิปัสสกะได้มาเข้าเฝ้าพระศาสดา เมื่อพระเถระทั้งสองมาพบกันแล้ว พระคันถิกะจึง
ตั้งใจจะถามปัญหาตามที่ตนคิดไว้ แต่พระศาสดาทรงทราบว่า การถามปัญหาอย่างนั้น ได้ชื่อว่าเป็นการ
เบียดเบียนแก่พระวิปัสสกะซึ่งเป็นพระอรหันต์ อันจะเป็นเหตุทำให้พระคันถิกะต้องไปเกิดในนรกด้วยทรงเอ็นดู
ในพระคันถูกะ จึงทรงทำประหนึ่งว่าเสด็จจาริกไปในวิหารที่ทั้งสองรูปนั้นนั่งอยู่ด้วยกัน
เมื่อทรงประทับนั่งแล้วจึงตรัสถามปัญหาที่เกี่ยวกับการปฏิบัติสมาธิภาวนาตั้งแต่ปัญหาในปฐมฌาน
กับพระคันถูกะ เมื่อท่านตอบไม่ได้ พระองค์จึงตรัสถามปัญหาให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไป ทั้งในรูปสมาบัติ อรูป
สมาบัติ และโสดาปัตติมรรค จนถึงปัญหาในพระอรหัตผล ซึ่งปัญหาทั้งหมดนั้น พระคันถูกะตอบไม่ได้แม้สัก
ข้อเดียว ในทางตรงกันข้าม เมื่อพระองค์ตรัสถามพระวิปัสสกะด้วยปัญหาเดียวกัน ท่านก็ตอบได้ทั้งหมด
พระศาสดาจึงทรงประธานสาธุการแก่พระวิปัสสกะนั้น เทวดาทั้งหมดตั้งแต่ภุมมเทวาไปจนถึง
พรหมโลกเมื่อได้ฟังสาธุการนั้นแล้ว ก็ให้สาธุการด้วยกันทั้งหมด
ศิษย์ของพระคันถิกะเมื่อได้ยินเสียงสาธุการเช่นนั้นก็เกิดความไม่เข้าใจว่าเพราะเหตุใดพระศาสดาจึง
ทรงให้สาธุการแก่พระวิปัสสกะที่ไม่มีความรู้ทางปริยัติอะไรเลยแต่กับอาจารย์ของเราซึ่งทรงจำปริยัติธรรมไว้
ได้ทั้งหมดนั้น พระองค์กลับไม่ทรงให้แม้แต่คำสรรเสริญใดๆ พระศาสดาจึงตรัสตอบไปว่า
“หากว่า นรชนกล่าวพระพุทธพจน์อันมีประโยชน์เกื้อกูลแม้มาก แต่เป็นผู้
ประมาทแล้ว ไม่ทำตามพระพุทธพจน์นั้นไซร้ เขาย่อมไม่เป็นผู้มีส่วนแห่ง
สามัญญผล เหมือนคนเลี้ยงโค นับโคทั้งหลายของชนเหล่าอื่น ย่อมเป็นผู้
ไม่มีส่วนแห่งปัญจโครส ฉะนั้น
หากว่า นรชนกล่าวพระพุทธพจน์อันมีประโยชน์เกื้อกูลแม้น้อย แต่เป็น
ผู้มีปกติประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรมไซร้ เขาละราคะ โทสะ และโมหะแล้ว
รู้ชอบ มีจิตหลุดพ้นดีแล้ว หมดความยึดถือในโลกนี้หรือในโลกหน้า เขา
ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งสามัญญผล”
ผลของความเป็นสมณะ หรือประโยชน์ที่ได้จากการบำเพ็ญสมณธรรม เช่น การบรรลุมรรคผลนิพพาน เป็นต้น
รสอันเกิดจากโค 5 อย่างคือ นมสด นมส้ม เปรียง เนยใส เนยขึ้น
บทที่ 1 การฝึกอบรม ในพระพุทธศาสนา DOU 11